ชัยภูมิ

อัพเดตเมื่อ : 30 Apr 2025 16:14
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
ประวัติจังหวัดชัยภูมิ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองชัยภูมิ ปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่าเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมาแต่ต่อมาผู้คนได้อพยพออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น และ พ.ศ.2360 "นายแล"ข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองน้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวส่งไปบรรณาการเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล" ในปี พ.ศ. 2365 นายแลได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากันหนองหลอด เขตอำเภอเมืองชัยภูมิ ปัจจุบัน และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์อีกต่อไปจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวงเป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น "พระยาภักดีชุมพล"




 
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงบริเวณใจกลางของประเทศ บริเวณเส้นรุ้งที่ 15 องศาเหนือ เส้นแวงที่ 102 องศาตะวันออก อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 631 ฟุต ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 332 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,778.3 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,986,429 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.6 ของพื้นที่ทั้งหมดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 2.5 ของพื้นที่ทั้งประเทศ มีพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นลำดับที่ 7 ของประเทศ
 
 
ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดชัยภูมิมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง บริเวณตอนกลางของจังหวัดเป็นพื้นที่ราบ พื้นที่ครึ่งหนึ่งของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขา นอกจากนั้นเป็นที่ราบสูง มีพื้นที่ป่าไม้และเทือกเขาตั้งเรียงรายจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก ประกอบด้วยเทือกเขาสำคัญคือ ภูเขียว ภูแลนคา และภูพังเหย ด้วยลักษณะดังกล่าวจึงทำให้พื้นที่จังหวัด ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนเหนือ มีอำเภอหนองบัวแดง แก้งคร้อ บ้านแท่น เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว คอนสาร และภักดีชุมพลส่วนใต้ มีอำเภอเมืองชัยภูมิ บ้านเขว้า จัตุรัส บำเหน็จณรงค์ เทพสถิต หนองบัวระเหว คอนสวรรค์ อำเภอเนินสง่า และกิ่งอำเภอซับใหญ่

 
 
ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1.พื้นทีราบฝั่งแม่น้ำ เขตนี้มีพื้นที่ประมาณ 1,048,000 ไร่ หรือร้อยละ 13 ของพื้นที่จังหวัด มีความสูงตั้งแต่ 0- 200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำชีในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ บำเหน็จณรงค์ จัตุรัส คอนสวรรค์ บริเวณนี้จะเป็นเขตที่ราบ น้ำท่วมถึงในฤดูฝน
2. พื้นที่ลูกคลื่นลอนตื่น อยู่ตอนกลางของพื้นที่จังหวัดเป็นแนวยาวตามทิศเหนือ-ใต้ ตามแนวเทือกเขาดงพญาเย็น มีความสูงประมาณ 200- 500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ได้แก่ พื้นที่บางส่วนในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ จัตุรัส บำเหน็จณรงค์ บ้านเขว้า และคอนสวรรค์
3.พื้นที่สูงและภูเขา สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลอนลึกและภูเขาในเขตเทือกเขาดงพญาเย็น มีความสูงตั้งแต่ 500- 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งได้แก่ พื้นที่บางส่วนของอำเภอหนองบัวระเหว คอนสาร เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว แก้งคร้อ และพื้นที่ทางตอนเหนือของอำเภอเมืองชัยภูมิ

 
การแบ่งเขตการปกครอง
จังหวัดชัยภูมิ มีรูปแบบการปกครองและการบริหารราชการเป็น 3 ส่วนคือ
1. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ หน่วยงานที่กระทรวง กรมต่าง ๆ ส่งมาปฏิบัติราชการประจำ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ดังนี้
1.1 หน่วยงานระดับจังหวัด ประกอบด้วย หน่วยงานทั้งสิ้น 34 หน่วยงาน เช่น ที่ทำการปกครองจังหวัด สำนักงานสรรพากรจังหวัด สำนักงานป่าไม้จังหวัด เป็นต้น
1.2 หน่วยงานระดับอำเภอ ประกอบด้วย 15 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 124 ตำบล และ 1,604 หมู่บ้าน
2. การบริหารราชการส่วนกลาง ได้แก่ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ขึ้นตรงต่อการบริหารราชการส่วนกลางที่ประจำในจังหวัด มี่ทั้งสิ้น 46 หน่วยงาน และเป็นหน่วยงาน และเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 15 หน่วยงาน
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
 เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองชัยภูมิ
 เทศบาลตำบล 19 แห่ง
 องค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต. ) 122 แห่ง
 




ตราประจำจังหวัด
เป็นรูปธงสามชาย ซึ่งเป็นธงนำกระบวนทัพในสมัยโบราณ
หมายถึง ธงแห่งชัยชนะสงคราม เดิมผู้ครองนคร ได้เลือกภูมิประเทศเพื่อตั้งเป็นเมือง พบว่าตรงจังหวัดนี้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ทำเลเหมาะแก่การสู้รบป้องกันตัวจึงตั้งเมืองขึ้นและให้สัญญลักษณ์เป็นรูปธงชัย 3 แฉก
 
ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกกระเจียว
 
ต้นไม้ประจำจังหวัด คือ ต้นขี้เหล็ก

 
อุตสาหกรรม
การอุตสาหกรรมจังหวัดชัยภูมิ
โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในจังหวัดชัยภูมิ เป็นอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานในลักษณะการแปรรูปผลผลิตทางด้านการเกษตรเบื้องต้น และส่งต่อไปยังโรงงานอุตสาหกรรมในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ อุตสาหกรรมในจังหวัดชัยภูมิที่คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวมาก คือ อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรในอำเภอที่มีการปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น อำเภอภูเขียว บำเหน็จณรงค์ เทพสถิต คอนสวรรค์ และภักดีชุมพล ส่วนโรงงานอุสาหกรรมที่น่าจะมีการส่งเสริมอีก คือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด เยื่อกระดาษจากฟางข้าว และไม้โตเร็ว ไซโล ดอกไม้ประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก แป้งข้าวเจ้า แป้งถั่วเขียว นมพร้อมดื่ม อุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม


Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

306 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ

รับจัดลูกโป่ง

ที่มา : กรมบังคับคดี

30 Apr 2025

จ้างนางรำ

ที่มา : กรมบังคับคดี

30 Apr 2025

จัดดอกไม้หน้าเมรุ

ที่มา : กรมบังคับคดี

30 Apr 2025

รับสร้างจุดเช็คอิน

ที่มา : กรมบังคับคดี

30 Apr 2025