ริดสีดวง (Hemorrhoids หรือ Piles) เป็นภาวะที่หลอดเลือดดำที่มีอยู่ตามธรรมชาติของคนทั่วไปในบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพอง (ขอด) เป็นหัว หรือที่เรียกว่า “หัวริดสีดวง” แล้วมีการปริแตกของผนังหลอดเลือดในขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ จึงทำให้มีเลือดออกเป็นครั้งคราว
โดยมักจะมีอาการของโรคเกิดขึ้นในเวลาท้องผูกหรือเกิดท้องเดินบ่อยครั้ง ปกติแล้วจะไม่ค่อยมีอาการรุนแรงหรืออันตราย โดยอาจจะเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง น่ารำคาญ หรือทำให้วิตกกังวลได้
หัวริดสีดวงที่พบอาจมีเพียงหัวเดียวหรือมีหลายหัวก็ได้ ถ้าเกิดจากหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้ผิวหนังตรงปากทวารหนักจะเรียกว่า “ริดสีดวงภายนอก” (External Hemorrhoids)
ซึ่งอาจมองเห็นจากภายนอกได้ แต่ถ้าเกิดจากหลอดเลือดอยู่ลึกเข้าไปจะเรียกว่า “ริดสีดวงภายใน” (Internal hemorrhoids) ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อใช้กล้องส่องตรวจไส้โดยตรง
โรคริดสีดวงทวาร โดยตัวมันเองแล้วไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง มักไม่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต แต่อาจทำให้เป็นเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ได้ ถ้ายังไม่สามารถควบคุมสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้
โดยจะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด และแม้ว่าจะเคยผ่าตัดรักษาริดสีดวงมาแล้ว ก็อาจจะเกิดริดสีดวงหัวใหม่ ทำให้มีเลือดออกได้อีก
1. โรคริดสีดวงทวารแบบภายนอก (External hemorrhoids) เป็นชนิดที่มีติ่งเนื้อนุ่ม ๆ ยื่นออกมาจากทวารหนัก สามารถสัมผัสได้ มักมีอาการเจ็บปวด และอาจมีเลือดออกได้เมื่อมีการเบ่งอุจจาระ
2. โรคริดสีดวงทวารแบบภายใน (Internal hemorrhoids) จะเป็นติ่งเนื้อบวมอยู่ภายในทวารหนัก ไม่สามารถสัมผัสได้ โดยมากมักไม่มีอาการเจ็บปวด แต่สังเกตได้จากอาการเลือดสด ๆ ไหลออกพร้อม ๆ กับอุจจาระ เป็นชนิดที่พบบ่อยกว่าโรคริดสีดวงทวารแบบภายนอก
ความรุนแรงของโรคริดสีดวงทวารหนักแบ่งได้เป็น 4 ระยะคือ
ระยะที่ 1 ยังไม่มีติ่งเนื้อหรือก้อนยื่นออกมานอกทวารหนัก
ระยะที่ 2 เริ่มมีติ่งเนื้อหรือก้อนยื่นออกมาขณะเบ่ง ถ่ายอุจจาระ และจะหดกลับเข้าไปได้เอง โดยไม่ต้องใช้มือช่วยดันเข้าไป ยังไม่รู้สึกเจ็บ แต่มีเลือดออก
ระยะที่ 3 มีติ่งเนื้อหรือก้อนยื่นออกมาขณะเบ่งอุจจาระ แต่ไม่หดกลับเข้าไปได้เอง จะต้องใช้มือช่วยดันเข้าไป จึงจะกลับเข้าไปในทวารหนัก
ระยะที่ 4 มีติ่งเนื้อหรือก้อนยื่นออกมาแล้ว ไม่สามารถใช้มือดันติ่งเนื้อนี้เข้าไปในทวารหนักได้เลย
ริดสีดวงแตกสังเกตได้ง่าย ๆ จากการขับถ่ายของคุณเองเลยค่ะ หากมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ หรือมีเลือดไหลออกมาจารูทวารไม่หยุด รวมทั้งมีอาการปวดมากให้บรรเทาอาการด้วยยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอลหรือไอบูโทรเฟน ในเบื้องต้น จากนั้นใช้สำลีหรือผ้าอนามัยซับเลือดที่ออกมา แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาริดสีดวงแตกโดยเร็วที่สุด
1. อย่าปล่อยให้ท้องผูกนานๆ และหมั่นทำความสะอาดปากทวารทุกครั้งที่ถ่ายอุจาระเสร็จ
2. หากพบว่าหัวริดสีดวงทวารอักเสบ บวมมาก และมีเลือดสีแดงสดไหลไม่หยุด ควรพบแพทย์
3. ถ้าปวดที่หัวริดสีดวงทวาร ให้ผสมน้ำอุ่นกับด่างทับทิม แล้วลงไปนั่งแช่สัก 20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยให้คลายอาการปวดได้ค่ะ
ใช้ยี่หร่า 30 กรัม พริกไทยป่น 15 กรัม ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน กินก่อนอาหาร 5-7 เม็ด ในตอนเช้ามืด – หลังจากนั้นให้กินดีเกลือฝรั่ง 15 กรัม ผสมน้ำโซดาตามเข้าไปเพื่อให้ขับถ่ายสะดวกขึ้นค่ะ
การใช้เพชรสังฆาตในการรักษาริดสีดวงทวาร ใช้ได้โดยการใช้เถาสด ยาว 10 ซม. หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ห่อด้วยมะขามเปียก หรือใบผักกาดดอง กินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ค่ะ วันละ 3 ครั้ง ห้ามเคี่ยวให้กลืนทั้งห่อ เพราะถ้าเคี้ยวอาจจะระคายเคืองเยื่อบุในปากได้ค่ะ
สามารถทำได้ 2 แบบค่ะ คือ ใช้เมล็ดแห้งบดให้เป็นผง ผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน กินวันละ 2-3 เม็ด หลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง ใช้เมล็ดแห้งบดเป็นผง ชงกับน้ำร้อน ดื่ม 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แก้ว
1. ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันคือ ทำให้อุจจาระไม่แข็งและผ่านไปได้โดยง่าย ด้วยการรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง ๆ ให้มาก ๆ ระวังอย่าให้ท้องผูก
2. ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มและขับถ่ายออกได้ง่าย
3. ฝึกเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา ไม่กลั้นอุจจาระ (ขับถ่ายโดยไวเมื่อรู้สึกปวดอุจจาระ)
4. หลีกเลี่ยงการนั่งเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน ๆ (ให้ใช้เวลาให้น้อยที่สุดในขณะเบ่งถ่าย และหลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์มือถือและอ่านหนังสือในขณะขับถ่าย)
5. ระวังอย่าให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเดิน หรือท้องเสียบ่อย ๆ
6. ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก (อ้วน) ควรหาวิธีลดความอ้วนอย่างเหมาะสม และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
7. ออกกำลังกายให้เพียงพอ พยายามเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เช่น การเดิน
แหล่งที่มา: sharesod ,health.kapook.com
แชร์ข่าวนี้
692 ครั้ง