การเพาะปลูกกะหล่ำปลี

อัพเดตเมื่อ : 26 Apr 2024 10:26
หน่วยงาน : บทความน่ารู้
   กะหล่ำปลี เป็นพืชผักชนิดหนึ่งซึ่งแต่เดิมเป็นพืชที่ปลูกในเขตเมดิเตอร์เรเนียนแถบยุโรป ต่อมาได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทย โดยในสมัยก่อนกะหล่ำปลีปลูกได้ดีเฉพาะฤดูหนาวทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ต่อมาเริ่มเป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป จึงได้มีการพยายามปลูกกะหล่ำปลีนอกฤดูกันมากขึ้น และได้หาพันธุ์ทนร้อนเหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทย จึงทำให้ในปัจจุบันสามารถปลูกกะหล่ำปลีได้ทุกฤดูกาล

การปลูกกะหล่ำปลี  กะหล่ำปลี หรือ Cabbage Genus Brassica เป็นผักอายุประมาณ 2ปี แต่นิยมปลูกเป็นผักอายุปีเดียว คือ อายุตั้งแต่ย้ายปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 50-120 วัน ปลูกได้ผลดีในช่วง เดือนตุลาคม – มกราคม ถ้าปลูกนอกเหนือจากนี้จะต้องเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมในการเพาะปลูกกะหล่ำปลีนั้น โดยทั่วไปสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินโปร่ง อุณหภูมิที่ เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส มีสภาพความ เป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) อยู่ในช่วง 6-6.5 ความชื้นในดินสูงพอสมควร และได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน 

สายพันธุ์ของกะหล่ำปลี 

การปลูกกะหล่ำปลีสายพันธุ์ของกะหล่ำปลีสามารถแยกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 

กะหล่ำปลีธรรมดา มีความสำคัญและปลูกมากที่สุดในแง่ผัก บริโภค มีลักษณะหัวหลายแบบ ตั้งแต่หัวกลม หัวแหลมเป็นรูปหัวใจ จนถึงกลมแบนราบ มีสีเขียวจนถึงเขียวอ่อน เป็นพันธุ์ที่ทนร้อน อายุการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 50-60 วัน พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ลูกผสมต่างๆ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ผสมเปิดอื่น ๆ อีกเช่น พันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต พันธุ์โกเดนเอเลอร์ 

การปลูกกะหล่ำปลี  กะหล่ำปลีแดง มีลักษณะหัวค่อนข้างกลม ใบสีแดงทับทิม ส่วนใหญ่มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน ต้องการอากาศหนาวเย็นพอสมควร เมื่อนำไปต้มน้ำจะมีสีแดงคล้ำ พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์รูบี้บอล รูบี้เพอเฟคชั่น 
กะหล่ำปลีใบย่น มีลักษณะผิวใบหยิกย่นและเป็นคลื่นมากต้องการอากาศหนาวเย็นในการปลูก 

การเตรียมดินปลูกกะหล่ำปลี 
       แปลงเพาะกล้า เตรียมดินโดยการขุดไถให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาวตามความต้องการ ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน แล้วคลุกด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ย่อยดินให้ละเอียดพอสมควร รดน้ำให้ชื้น แล้วทำการหว่านเมล็ดลงไป ควรพยายามหว่านเมล็ดให้กระจายบางๆ 

การปลูกกะหล่ำปลี  ถ้าต้องการปลูกเป็นแถวก็ควรจะทำร่องไว้ก่อนแล้วหว่านเมล็ดตามร่องที่เตรียมไว้ คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบาง ๆเมื่อกล้าออกใบจริงประมาณ 1-2 ใบ ก็ทำการถอนแยกต้นที่แน่นหรืออ่อนแอทิ้ง 

แปลงปลูก  กะหล่ำปลีที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นพันธุ์เบา ระบบรากตื้น ควรเตรียมดินลึกประมาณ 18-20 เซนติเมตร ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักให้มาก เพื่อปรับสภาพของดิน และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยเฉพาะในดินทรายและดินเหนียว จากนั้นย่อยผิวหน้าดินให้มีขนาดก้อนเล็กแต่ไม่ต้องละเอียดจนเกินไป ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูก 

การปลูกกะหล่ำปลีและการดูแลรักษา 

การปลูกกะหล่ำปลี – เมื่อกล้ามีอายุได้ประมาณ 25-30 วัน จึงย้ายปลูกในแปลงปลูกที่เตรียมไว้ โดยให้มีระยะปลูก 30-40 x 30-40 เซนติเมตร การปลูกอาจปลูกเป็นแบบแถวเดียว หรือแถวคู่ก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของสวน
   – การใส่ปุ๋ย กะหล่ำปลีเป็นพืชที่ต้องการธาตุไนโตรเจนและโปตัสเซียมสูง เพื่อใช้ในการสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ต้นพืช ดินโดยทั่วไปที่มีเนื้อดินละเอียดและอยู่ในกลุ่มของดินเหนียวส่วนใหญ่มักมีปริมาณธาตุโปตัสเซียมเพียงพอต่อการปลูกพืช ไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมโดยการใส่ปุ๋ยโปตัสเซียมอีก แต่ถ้าต้องการจะใส่ก็ใส่ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ ส่วนในกรณีดินเนื้อหยาบ เช่น ดินร่วนและดินทราย อาจจะต้องใส่ปุ๋ยโปตัสเซียมในปริมาณที่มากกว่าในดินเหนียว โดยเฉพาะในดินทรายอาจจะต้องใส่ปุ๋ยโปตัสเซียมเพิ่มมากขึ้นไปอีก 

นอกเหนือจากการใส่ปุ๋ยโปตัสเซียมโดยตรงแล้ว การจัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ก็ช่วยลดการใส่ปุ๋ยโปตัสเซียมให้น้อยลงได้บ้าง การป้องกันการสูญเสียหน้าดินโดยการชะล้างและพังทลายของดินโดยน้ำพัดพาไป ก็จะช่วยรักษาธาตุโปตัสเซียมเอาไว้ได้อีกทางหนึ่ง สำหรับการเติมโปตัสเซียมจะแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ใส่รองพื้นขณะปลูก แล้วพรวนกลบลงในดิน ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากกะหล่ำปลีมีอายุได้ 7-14 วัน และควรใส่ไนโตรเจน หรือยูเรียควบคู่ไปด้วย ซึ่งการใส่ปุ๋ยนี้ก็แบ่งใส่ 2 ครั้งเช่นกันคือใส่เมื่อกะหล่ำปลีมีอายุได้ 20 วัน และเมื่ออายุได้ 40 วัน โดยการโรยข้างๆ ต้น ปุ๋ยที่ใช้ส่วนใหญ่คือ ปุ๋ยขี้ค้างคาว และปุ๋ยมูลสัตว์ทั่วไป นำมาผสมกับปุ๋ยพืชสด 

– การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยปล่อยไปตามร่องระหว่างแปลงประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง ในเขตร้อนและแห้งแล้งจำเป็นต้องให้น้ำมากขึ้นและเมื่อกะหล่ำปลีเข้าปลีเต็มที่แล้วควรลดปริมาณน้ำให้น้อยลง เพราะหากกะหล่ำปลีได้รับน้ำมากเกินไปจะทำให้ปลีแตกได้ 

– การพรวนดินและกำจัดวัชพืช ในระยะแรก ๆ ควรปฏิบัติบ่อย ๆ เพราะวัชพืชจะเป็นตัวแย่งอาหารในดินรวมทั้งเป็นที่อาศัยของโรคและแมลงอีกด้วย 

การเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลี 

การปลูกกะหล่ำปลี   อายุการเก็บเกี่ยวของกะหล่ำปลีตั้งแต่ปลูกจนถึงวันเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละพันธุ์ สำหรับพันธุ์เบาที่นิยมปลูกจะมีอายุประมาณ 50-60 วัน แต่พันธุ์หนักมีอายุถึง 120 วัน การเก็บควรเลือกหัวที่ห่อหัวแน่นและมีขนาดพอเหมาะ กะหล่ำปลี 1หัวมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม หากปล่อยไว้นานหัวจะหลวมลง ทำให้คุณภาพของหัวกะหล่ำปลีลดลง การเก็บควรใช้มีดตัดให้ใบนอกที่หุ้มหัวติดมาด้วยเพราะจะทำให้สามารถเก็บรักษาได้ตลอดวัน เมื่อตัดและขนออกนอกแปลงแล้วให้ตัดแต่งใบนอกออกเหลือเพียง 2-3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากการบรรจุและขนส่ง จากนั้นคัดแยกขนาด แล้วบรรจุถุง 
  
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของกะหล่ำปลี 

โรคเน่าเละ สาเหตุเกิดจากเชื้อราแบคทีเรีย ลักษณะอาการโรคนี้พบได้เกือบทุกระยะการเจริญเติบโตแต่พบมากในระยะที่กะหล่ำปลีห่อหัวโดยในระยะแรกพบเป็นจุดหรือบริเวณมีลักษณะฉ่ำน้ำคล้ายรอยช้ำ ต่อมาแผลจะขยายลุกลามออกไป ทำให้เกิดการเน่าเละเป็นเมือกเยิ้มมีกลิ่นเหม็นจัด เมื่ออาการรุนแรงจะทำให้กะหล่ำปลีเน่าเละทั้งหัวและหักพับลง 

การป้องกันกำจัด
1. ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผลหรือรอยช้ำทั้งขณะเก็บเกี่ยวและขนส่ง 
2. ฉีดพ่นสารกำจัดแมลงปากกัดหรือแมลงวันในแปลงปลูก 
3. กำจัดเศษวัชพืชออกจากแปลง อย่าไถกลบ 
4. ในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำดี 
5. หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วให้เก็บผักไว้ในที่อุณหภูมิต่ำประมาณ 10 องศาเซลเซียส 

โรคเน่าดำ สาเหตุเกิดจากเชื้อบักเตรี ซึ่งจะเข้าทำลายทางรูใบที่อยู่ตามขอบใบ ลักษณะอาการใบจะแห้งจากด้านขอบใบเข้าไปเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีปลายแหลมชี้ไปที่เส้นกลางใบ บนเนื้อเยื่อที่แห้งจะมีเส้นใยสีดำเห็นชันเจน อาการใบแห้งจะลุกลามไปจนถึงเส้นกลางใบและลุกลามลงไปถึงก้านใบทำให้เกิดอาการใบเหลืองเหี่ยวและแห้งตาย กะหล่ำปลีจะชักงักการเจริญเติบโตและอาจตายได้ โดยเชื้อบักเตรีที่เป็นสาเหตุของโรคนี้จะอาศัยอยู่ในดิน เมื่อฝนตกจะระบาดไปทั่ว นอกจากนี้ยังสามารถติดไปกับเมล็ดผักได้อีกด้วย 

การป้องกันกำจัด 
1. ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ผักไปปลูกควรแช่เม็ดพันธุ์ผักในน้ำอุ่นที่ อุณหภูมิประมาณ 50-55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20-30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดอยู่ในเมล็ด 
2. ไม่ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำติดต่อกันเกิน 3 ปี เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรค 

แมลงศัตรูพืชกะหล่ำปลีที่สำคัญ 
การปลูกกะหล่ำปลี  หนอนใยผัก เป็นหนอนผีเสื้อที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหนอนผีเสื้อศัตรูผัก จะมีลักษณะหัวท้ายแหลม เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง และทิ้งตัวลงดินโดยการสร้างใย มักจะพบตัวแก่ตามใบโดยเกาะอยู่ในลักษณะยกหัวขึ้น หนอนใยผักเกิดจากการที่แม่ผีเสื้อวางไข่ไว้ ไข่มีขนาดเล็กค่อนข้างแบนสีเหลือง วางติดกัน 2-5 ฟอง อายุไข่ประมาณ 3 วัน อายุดักแด้ 3-4 วัน ตัวเต็มวัยมีสีเหลืองเทา ตรงส่วนหลังมีแถบสีเหลือง อายุตัวเต็มวัย 1 สัปดาห์ การทำลายจะกัดกินผักอ่อน ดอกหรือใบที่หุ้มอยู่ทำให้ใบเป็นรูพรุน หนอนใยผักมีความสามารถในการทนต่อสารเคมี และปรับตัวต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกำจัดได้ดี 

การป้องกันกำจัดหนอนใยผัก สารสกัดจากสะเดา ส่วนที่ใช้ ผลแก่ (สดหรือตากแห้ง/เฉพาะเมล็ดในหรือเมล็ดใน+เนื้อ+เปลือก) เมล็ดในสดแก่จัดมีสารออกฤทธิ์มากที่สุด ใบแก่มีสารออกฤทธิ์แต่น้อยกว่าเมล็ดมาก ผลสะเดา 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืชที่ใช้ได้ผลดี คือ หนอนกระทู้ผัก หนอนหนังเหนียว หนอนใยผัก หนอนคืบ หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนแก้ว หนอนบุ้ง หนอนหลอดหอม หนอนเจาะต้น/ยอด/ดอก หนอนหัวกะโหลก หนอนกอสีครีม หนอนลายจุดข้าวโพด/ข้าวฟ่าง หนอนม้วนใบข้าว หนอนกอข้าว หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ ด้วงเต่าฟักทอง ตั๊กแตน ไส้เดือนฝอย 

หนอนกระทู้ผัก มักพบบ่อยในพวกผักกาดโดยจะกัดกินใบ ก้าน หรือเข้าทำลายในหัวปลี มักจะเข้าทำลายเป็นหย่อม ๆ ตามจุดที่ผีเสื้อวางไข่ หนอนชนิดนี้สังเกตได้ง่ายคือลำตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบคล้าย หนอนกระทู้หอม มีสีสันต่าง ๆ กัน มีแถบสีขาวข้างลำตัวแต่ไม่ค่อยชัดนัก เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด 3-4 เซนติเมตร เคลื่อนไหวช้า ระยะตัวหนอนประมาณ 15-20 วัน และจะเข้าดักแด้ตามใต้ผิวดิน ระยะดักแด้ประมาณ 7-10 วัน การทำลายจะกัดกินก้านใบและปลีในระยะเข้าปลี 

การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจดูสวนผัก เมื่อพบหนอนกระทู้ผักควรทำลายเสียเพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดลุกลามต่อไป 

หนอนเจาะยอดกะหล่ำ จะพบระบาดทำความเสียหายให้แก่พืชผักในตระกูลกะหล่ำ โดยหนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินในหัวหรือยอดผักที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอดขาดไม่เข้าหัว ถ้าระบาดในระยะออกดอกจะเจาะเข้าไปในลำต้น ก้านดอก หรือในระยะเล็กจะกัดกินดอก

การป้องกันกำจัด ควรปฏิบัติตั้งแต่ระยะแรกโดยการเลือกกล้าผักที่ไม่มีไข่หรือหนอนเล็กติดมา จะช่วยป้องกันมิให้หนอนเข้าไปทำลายส่วนสำคัญของพืช เช่น หัวหรือก้านดอกได้ แมลงศัตรูอื่น ๆ ด้วงหมัดผัก จะพบการทำลายได้ตลอดปี ป้องกันโดยการฉีดพ่นด้วยเซฟวิน 85 หรือแลนเนท มด จะทำลายช่วงก่อนกล้างอก สังเกตได้จากทางเดินของมด ป้องกันกำจัดโดยใช้เซฟวิน 85 และคูมิฟอส รดแปลงกล้า


ที่มา: http://www.kasetorganic.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5.html

 

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ

แนวข้อสอบ กลุ่มตำแหน่งนิติศาสตร์

ที่มา : บทความน่ารู้

26 Apr 2024

แนวข้อสอบเอกสัตวศาสตร์

ที่มา : บทความน่ารู้

26 Apr 2024