ใครไปสอบกรมชลประทานมาบ้างคะ ??? เล่าให้ฟังหน่อย

อัพเดตเมื่อ : 5 May 2024 18:34
หน่วยงาน : กรมชลประทาน
เรื่องหลักที่ต้องอ่านในการสอบเข้ากรมชลประทาน
1. กรมชลประทานเริ่มจริงจังในรัชกาลที่ = รัชกาลที่ 5
2. บิดาแห่งชลการคือ = ม.ล. ชูชาติ กำภู
3. กรมชลประทานมีชื่อเก่า = 2 ชื่อ ได้แก่ กรมคลอง กรมทดน้ำ
4. เว็บไซต์กรมชลประทาน = www.rid.go.th
5. กรมชลประทานอยุในสังกัดกระทรวง = เกษตรและสหกรณ์
6. อธิบดีกรมชลประทานคนปัจจุบัน = นายสุเทพ น้อยไพโรจน์
7. ผู้บริหารกรมชลประทานเรียกว่า = อธิบดี  
8. การขุดลอกคลองเริ่มในรัชกาล = รัชกาลที่ 5
9. นายเย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเดย์ คือ = เจ้ากรมคลองคนแรก

ดาวน์โหลดหนังสือเตรียมสอบกรมชลประทานที่นี่
10. วันที่ก่อตั้งกรมชลประทานคือวันที่ 13 มิถุนายน 2445
11. กรมคลองเปลี่ยนชื่อเป็นกรมทดน้ำในรัชกาลที่ = รัชกาลที่ 6
12. ชื่อภาษาอังกฤษของกรมชลประทาน = Royal Lrrigation Department
13. เจ้ากรมทดน้ำคนแรก = นายอาร์ซี อาร์วินซัน
14. รัชกาลที่ 6 แต่งตั้งชื่อ กรมทดน้ำ
15. กรมทดน้ำตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2457
16. กรมทดน้ำเปลี่ยนชื่อเป็นกรมชลประทานเมื่อ = 21 มีนาคม 2470
17. เขื่อนพระราม 6 ตั้งอยู่ที่ = ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
18. วิสัยทัศน์กรมชลประทาน = กรมชลประทานเป็นองค์กรนำด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ และบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ให้มีพื้นที่ชลประทานอยู่ในลำดับ 1 ใน 10 ของโลก
19. พันธกิจมีทั้งหมด 4 ข้อ (เปิดอ่านในเว็บชลประทานชัวร์กว่าหนังสือครับ)
20. ค่านิยมกรมชลประทาน = WATER for all
      W  คือ Work smart  เก่งงาน เก่งคิด
      A คือ  Accountability  รับผิดชอบ
      T คือ Team work networking  ร่วมมือร่วมประสาน
      E คือ Expertise  เชี่ยวชาญงานที่ทำ
      R คือ Responsiveness นำประโยชน์สู้ประชาชน                                                           
21. วัฒนธรรมกรมชลประทานคือ = เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ ทำงานมีมาตรฐาน บูรณาการเพื่อประชาชน
22. ประเด็นยุทธศาสตร์มี 3 ข้อ (เปิดอ่านในเว็บชลประทานชัวร์กว่าหนังสือครับ)
23. เป้าประสงค์มี 4 ด้าน 19 ข้อ
24. กรมชลประทานมีส่วนกลางทั้งหมด 21 ส่วน สำนัก 17 สำนัก
25. โครงการชลประทานจังหวัดมีทั้งหมด 75 โครงการ
26. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา มี 81 โครงการ
27. สำนักงานก่อสร้างมี 14 สำนัก
28. ระบบโทรมาตร มี 2 ระบบ
29. เครื่องหมายชลประทานประกอบด้วย (เปิดอ่านในเว็บชลประทานชัวร์กว่าหนังสือครับ)
คำแนะนำในการสอบกรมชลประทาน
ในการสอบบรรจุรับราชการของกรมชลประทาน จะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ. ผู้เข้าสอบควรเตรียมตัวมาอย่างดี  
อ่านวิชาเฉพาะตำแหน่งให้มากๆ ควรอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์  
และควรจัดตารางในการอ่านหนังสือ เพื่อทบทวน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาเฉพาะตำแหน่งให้มากๆ
 
การสอบเข้ากรมชลประทานจะมีการประเมินสมรรถนะอยู่  2  ครั้ง คือ
ครั้งที่  1  โดยการสอบข้อเขียน
ครั้งที่  2  โดยการสัมภาษณ์และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว 
จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่  2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์  ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60  
เนื้อหาความรู้ที่ออกสอบของกรมชลประทาน ได้แก่  ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  
ส่วนข้อสอบ จะออกตรงตามที่ประกาศสอบ  ผู้เข้าสอบต้องอ่านหนังสือมาให้มากๆรับรองทำข้อสอบได้แน่นอน เพราะข้อสอบไม่ยาก  ออกไม่ลึก แต่จะออกตรงๆ
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   
ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย  
และในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  
โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 
1. ให้แนะนำตัวเอง   
2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   
3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
 
การสอบสัมภาษณ์ สำหรับผู้ชายควรโกนหนวดเคราให้เรียบร้อย ผู้หญิงเสื้อผ้าหน้าผมต้องเยี่ยม แนะนำให้สวมสูทด้วยจะดูดีมีระดับ แต่ไม่ควรแต่งหน้าแบบงานรับปริญญาเป็นเจ้าป้าโดยเด็ดขาด  
คำถามที่จะโดนถาม ส่วนใหญ่จะเป็นประมาณ ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่ง ความรู้เกี่ยวกับกรมฯ ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน รอบแห่งการสอบภาค ค. 
หรือรอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง เป็นรอบที่ต้อง อาศัยกำลังภายใน รอบนี้ต่างหาก ที่ต้องระมัดระวังบรรดา เด็กเส้น เด็กฝากทั้งหลาย เป็นรอบแห่งการวิ่งเข้าหาผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ในกระทรวง กรม กอง 
ต้องรีบนำกระเช้าของขวัญติดไม้ติดมือ ไปกราบไหว้ท่านโดยด่วน ให้ท่านเอ็นดู อุปการคุณ  เนื่องจากคะแนนสอบในภาคนี้ มีประมาณกึ่งหนึ่งของคะแนนข้อเขียน และค่อนข้างมีผลชี้เป็น ชี้ตาย ชี้ได้ ชี้ไม่ได้   
วันประกาศผลจะเรียงคะแนนตามลำดับมากไปหาน้อย ต้องรอลุ้นอย่างระทึกใจ ทั้งนี้ในประกาศรับสมัครจะบอกว่ารับจำนวนเท่าใด หากติดลำดับที่เรียกบรรจุในครั้งแรก จะมีหนังสือเรียกตัวไปบรรจุ 
แต่หากไม่ได้รับการบรรจุในรอบแรก ต้องคอยติดต่อข่าวสารอย่างตลอด บัญชีการสอบแข่งขันจะมีอายุประมาณ 2 ปี  กรณีได้การบรรจุในรอบแรก ต้องเตรียมหลักฐานทั้งตัวจริงและสำเนาไปให้พร้อม 
อันจะได้แก่ ใบรับรองแพทย์ ใบปริญญาบัตร ใบแสดงผลการเรียน ใบทะเบียนสมรส ทั้งคู่สมรส และของบิดา มารดา ขั้นตอนการบรรจุ จะต้องกรอกเอกสาร กพ.7 ซึ่งเปรียบเสมือนทะเบียนประวัติของตัวเราเอง 
ในวันนั้นอาจจะมีการปฐมนิเทศ ภารกิจของกรมฯ สิทธิผลประโยชน์ที่พึงได้ สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร การทดลองราชการ ระเบียบการลา ฯลฯ
วิชาที่ใช้สอบเข้ากรมชลประทาน  มีดังนี้คือ
 
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน )  
 
2. การสอบสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้ารับการคัดเลือกและจากการสัมภาษณ์
 
รายละเอียดวิชาที่สอบ
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมชลประทาน
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมชลประทาน
3 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน
4 แนวข้อสอบระเบียบกรมชลประทานว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
 
ตำแหน่งที่สอบ
เจ้าพนักงานจัดหาที่ดิน
เจ้าพนักงานธุรการ
เจ้าพนักงานพัสดุ
เจ้าพนักงานอุทกวิทยา
นักวิชาการแผนที่และภาพถ่าย
นายช่างเขียนแบบ
นายช่างเครื่องกล
นายช่างชลประทาน
นายช่างไฟฟ้า
นายช่างไฟฟ้าสื่อสาร
นายช่างภาพ
นายช่างโยธา
นายช่างสำรวจ
นิติกร
พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา 
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ากรมชลประทาน 
ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชา
วิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางวิศวกรรมการเกษตร ทางวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
ทางวิศวกรรมโยธา – ทรัพยากรน้ำ ทางวิศวกรรมโยธา – ชลประทาน ทางวิศวกรรมแหล่งน้ำ และได้รับใบอนุญาตเป็น
ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด
 
ลักษณะงานที่ปฏิบัติในกรมชลประทาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ
ทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิศวกรรมชลประทาน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น
ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้
๑. ศึกษาพื้นที่ พิจารณาโครงการ สำรวจ ออกแบบงานชลประทาน ประมาณ
ราคา ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ระบบชลประทาน เขื่อน ฝาย อาคารชลประทานประกอบอื่น ๆ
จัดสรรน้ำ เพื่อให้ได้งานชลประทานที่มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์การใช้งาน และตอบสนองความต้องการ
ของผู้รับบริการ
๒. ศึกษา ทดสอบ วิเคราะห์ และวิจัย สภาพน้ำ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์
เทคโนโลยี การจัดการน้ำ บำรุงรักษา ระบบชลประทาน และการก่อสร้าง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบ
ชลประทานให้มีประสิทธิภาพ
๓. ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาด้านการชลประทานและการมีส่วนร่วมขององค์กร
ผู้ใช้น้ำในพื้นที่โครงการชลประทานและลุ่มน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้อย่างพอเพียง
๔. รวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับงานชลประทาน หรือจัดทำฐานข้อมูล หรือระบบ
สารสนเทศที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมชลประทานเพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้
ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์มาตรการต่าง ๆ
๕. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานวิศวกรรมชลประทานในความ
รับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูล
และความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
เกณฑ์การประเมินผู้สมัครสอบกรมชลประทาน
1. ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์จะต้องเป็น ผู้ที่สอบได้คะแนนในการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีสอบข้อเขียน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 
2. ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้ผ่านการเลือกสรรจะต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนในการประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 1 โดยวิธีสอบข้อเขียน และการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์แต่ละครั้งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 
3. การทำสัญญาจ้างเป็นพนักงานราชการ จะเป็นไปตามลำดับที่สอบได้
 
ความรู้ความสามารถเด่นๆในการคัดเลือกเข้าทำงานในกรมชลประทาน
ผู้สมัครต้องได้รับการประเมินสมรรถนะตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถนะ ตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
1. การประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งวิศวกร ชลประทาน โดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้ 
-ความรู้ด้านหลักการชลประทาน และงานวางแผนและวางโครงการ ประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ พืช การหาปริมาณการใช้น้ำของพืช การกำหนดการให้น้ำของพืช ประสิทธิภาพการชลประทาน ความสำคัญของการวางโครงการ 
การวิเคราะห์ความสำคัญของการวางโครงการ ความเหมาะสมของโครงการด้านต่าง ๆ การศึกษาผลกระทบโครงการ ความรู้ด้านงานหลักอุทกวิทยา และงานวิศวกรรมชลศาสตร์ ประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างน้ำฝน และน้ำท่า 
การวิเคราะห์และออกแบบทารงอุทกวิทยา การตรวจวัดทางอุทกวิทยา การไหลในทางนำปิด การไหลในท่อ การออกแบบอาคารทางชลศาสตร์ การระบายน้ำ 
- ความรู้เกี่ยวกับกรมชลประทาน ได้แก่ วิสัยทัศน์ บทบาทภารกิจ อำนาจหน้าที่ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และอื่น ๆ 
2. การประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) จะทำการทดสอบโดยวิธีสอบสัมภาษณ์และการประเมินบุคคล โดยพิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่น 
รวมทั้งจากการสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ บุคลิกภาพ ทัศนคติ ไหวพริบ อารมณ์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จิตสำนึกการให้บริการ คุณธรรมและจริยธรรม เป็นต้น
 



แหล่งข้อมูลจาก
 https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ