ใครไปสอบกรมตรวจบัญชีสหกรณ์มาบ้างคะ ??? เล่าให้ฟังหน่อย

อัพเดตเมื่อ : 6 May 2024 14:12
หน่วยงาน : กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
การเตรียมตัวสอบ
 ในการสอบบรรจุรับราชการของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จะต้องเป็นผู้สอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ. ผู้เข้าสอบควรเตรียมตัวมาอย่างดี  อ่านวิชาเฉพาะตำแหน่งให้มากๆ ควรอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์  และควรจัดตารางในการอ่านหนังสือ เพื่อทบทวน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาเฉพาะตำแหน่งให้มากๆ
การสอบเข้ากรมตรวจบัญชีสหกรณ์จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่  2  ครั้ง   
คือ  ครั้งที่  1  โดยการสอบข้อเขียน   
ครั้งที่  2  โดยการสัมภาษณ์  และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว 
จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่  2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์  ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60
เนื้อหาความรู้ที่ออกสอบของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้แก่  ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงาน  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  
โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และความรู้เกี่ยวกับนโยบายและภารกิจของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ส่วนข้อสอบ จะออกตรงตามที่ประกาศสอบ  ผู้เข้าสอบต้องอ่านหนังสือมาให้มากๆรับรองทำข้อสอบได้แน่นอน เพราะข้อสอบไม่ยาก  ออกไม่ลึก แต่จะออกตรงๆ
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ       
ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ 
และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย  และในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  
โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 
1. ให้แนะนำตัวเอง   
2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   
3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
การสอบสัมภาษณ์ สำหรับผู้ชายควรโกนหนวดเคราให้เรียบร้อย ผู้หญิงเสื้อผ้าหน้าผมต้องเยี่ยม แนะนำให้สวมสูทด้วยจะดูดีมีระดับ แต่ไม่ควรแต่งหน้าแบบงานรับปริญญาเป็นเจ้าป้าโดยเด็ดขาด  
คำถามที่จะโดนถาม ส่วนใหญ่จะเป็นประมาณ ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่ง ความรู้เกี่ยวกับกรมฯ ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน รอบแห่งการสอบภาค ค. หรือรอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง 
เป็นรอบที่ต้อง อาศัยกำลังภายใน รอบนี้ต่างหาก ที่ต้องระมัดระวังบรรดา เด็กเส้น เด็กฝากทั้งหลาย เป็นรอบแห่งการวิ่งเข้าหาผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ในกระทรวง กรม กอง ต้องรีบนำกระเช้าของขวัญติดไม้ติดมือ ไปกราบไหว้ท่านโดยด่วน ให้ท่านเอ็นดู อุปการคุณ  
เนื่องจากคะแนนสอบในภาคนี้ มีประมาณกึ่งหนึ่งของคะแนนข้อเขียน และค่อนข้างมีผลชี้เป็น ชี้ตาย ชี้ได้ ชี้ไม่ได้   วันประกาศผลจะเรียงคะแนนตามลำดับมากไปหาน้อย ต้องรอลุ้นอย่างระทึกใจ ทั้งนี้ในประกาศรับสมัครจะบอกว่ารับจำนวนเท่าใด 
หากติดลำดับที่เรียกบรรจุในครั้งแรก จะมีหนังสือเรียกตัวไปบรรจุ แต่หากไม่ได้รับการบรรจุในรอบแรก ต้องคอยติดต่อข่าวสารอย่างตลอด บัญชีการสอบแข่งขันจะมีอายุประมาณ 2 ปี  กรณีได้การบรรจุในรอบแรก ต้องเตรียมหลักฐานทั้งตัวจริงและสำเนาไปให้พร้อม 
อันจะได้แก่ ใบรับรองแพทย์ ใบปริญญาบัตร ใบแสดงผลการเรียน ใบทะเบียนสมรส ทั้งคู่สมรส และของบิดา มารดา ขั้นตอนการบรรจุ จะต้องกรอกเอกสาร กพ.7 ซึ่งเปรียบเสมือนทะเบียนประวัติของตัวเราเอง ในวันนั้นอาจจะมีการปฐมนิเทศ ภารกิจของกรมฯ 
สิทธิผลประโยชน์ที่พึงได้ สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร การทดลองราชการ ระเบียบการลา ฯลฯ
วิชาที่ใช้สอบกรมตรวจบัญชีสหกรณ์   มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน )   จะทดสอบความรู้แตกต่างกันตามแต่ละตำแหน่ง
2. การสอบสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้ารับการคัดเลือกและจากการสัมภาษณ์   
ทั้งนี้อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติจรรยาบรรณ ของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม 
การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จําเป็นของตําแหน่ง
 
ทั้งนี้ จะทดสอบภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่งก่อน และเมื่อสอบผ่าน ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่งแล้ว จึงจะมีสิทธิสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง 
 
รายละเอียดวิชาที่สอบกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
นักวิชาการตรวจสอบบัญชี
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
2 การวิเคราะห์งบการเงิน
3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีเบื้องต้น
4 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสอบบัญชี
5 ความรู้เกี่ยวกับบัญชีต้นทุน
6 แนวข้อสอบการจัดทำบัญชี
7 แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียน
8 หลักการบัญชีเบื้องต้น
9 แนวข้อสอบหลักการบัญชี
10 จริยธรรม จรรยาบรรณและความซื่อสัตย์ของนักบัญชี
 
นักวิชาการตรวจสอบบัญชี
นักทรัพยากรบุคคล
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
นักวิชาการตรวจสอบบัีญชี
นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
นักจัดการงานทั่วไป
นักบัญชี
เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
ความรู้ความสามารถเด่นๆในการคัดเลือกเข้าทำงานกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
1) ความรู้เกี่ยวกับการบัญชี 
2) ความรู้เกี่ยวกับการสอบบัญชี 
3) ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.สหกรณ์ และประมวลรัษฎากร 
4) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล 
5) ความรู้ทั่วไป
 
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าทำงานกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการบัญชี
 
ลักษณะงานที่ปฏิบัติในกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการตรวจสอบบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ
และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ตรวจสอบบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีความยุ่งยากน้อย เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานการสอบบัญชีตามระเบียบที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด
(2) จัดทำร่างรายงานการตรวจสอบบัญชี งบการเงิน และกระดาษทำการ เสนอผู้สอบบัญชี เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีและเป็นข้อมูลประกอบการแสดงความเห็นต่องบการเงิน (3) วางรูปแบบบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ และวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้มีรูปแบบบัญชีที่เหมาะสมกับประเภทการดำเนินธุรกิจ และการบันทึกบัญชีได้อย่างถูกต้องตามระเบียบ
ที่กำหนด
(4) วางรูปแบบบัญชีให้แก่เกษตรกร เยาวชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีรูปแบบบัญชี
ที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพ
(5) ช่วยวิเคราะห์สอบทาน รายงานการสอบบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จัดทำข้อสังเกตในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี (6) ช่วยปฏิบัติงาน กำกับ ดูแล สหกรณ์ที่ถ่ายโอนงานให้ภาคเอกชนตรวจสอบบัญชี เพื่อให้การปฏิบัติงานของสหกรณ์เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานการบัญชี
(7) ช่วยปฏิบัติงาน กำกับ ดูแล การปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาคเอกชน เพื่อให้
การปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานการสอบบัญชี
(8) ช่วยติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นไปตามแผนงานและตัวชี้วัด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด
ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้รับบริการ และผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
(2) บันทึกข้อมูล ทางการเงินการบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผ่านทางระบบสารสนเทศ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา และพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และอื่น ๆ



แหล่งข้อมูลจาก
 https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ