เคยทำข้อสอบกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ยากถ้ารู้แนวข้อสอบ

อัพเดตเมื่อ : 18 May 2024 22:35
หน่วยงาน : กรมทรัพย์สินทางปัญญา
เรียนจบด้านไหน ถึงได้ทำงานกรมทรัพย์สินทางปัญญา
-ได้รับวุฒิปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางฟิสิกส์
-ได้รับวุฒิปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขา วิชาหนึ่ง ทางวัสดุศาสตร์
-ได้รับวุฒิปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
ลักษณะงานกรมทรัพย์สินทางปัญญา
มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
1.1 ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านฟิสิกส์ โดยตรวจสอบทางเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ เพื่อเสนอความเห็นในการจดทะเบียนสิทธิบัตรให้ถูกต้องตามเทคนิควิชาการและข้อกำหนดตามกฎหมาย
1.2 จำแนกสัญลักษณ์การประดิษฐ์ของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านฟิสิกส์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบ
1.3 ตรวจค้นข้อมูลด้านเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ด้านฟิสิกส์ เพื่อประกอบการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดทำความเห็นในการพิจารณารับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เสนอต่อผู้บังคับบัญชา
1.4 พิจารณาคำคัดค้านการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านฟิสิกส์ และจัดทำความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาในการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์
1.5 ศึกษาวิเคราะห์ด้านเทคนิควิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องทางด้านฟิสิกส์ เพื่อรวบรวมจัดทำเอกสาร และคู่มือการปฏิบัติงาน
1.6 ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย จากองค์กรที่สังกัดอยู่เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านสิทธิบัตรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการวางแผน
วางแผน หรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
3.1 ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
3.2 ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4 ด้านการบริการ
4.1 ให้คำปรึกษาแนะนำในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถูกต้องสมบูรณ์ ตามกฎหมายกำหนด
4.2 เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา
5 งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
ความรู้ที่จำเป็น(วิชาที่สอบ)กรมทรัพย์สินทางปัญญา
1. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) รายละเอียดดังนี้
1.1 ข้อสอบปรนัย 20 ข้อ (รวม 20 คะแนน)
เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและกรมทรัพย์สินทางปัญญา 1.2 ข้อสอบอัตนัย 3 ข้อ (รวม 80 คะแนน)
(1) เป็นการทดสอบทักษะทางภาษาที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ในสาขาฟิสิกส์ โดยการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (30 คะแนน)
(2) การอ่านแล้วสรุปประเด็นโดยย่อ โดยตอบเป็นภาษาไทย (25 คะแนน)
(3) การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยตอบเป็นภาษาอังกฤษ (25 คะแนน)
2. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยการสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
เป็นการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน 
และประเด็นอื่นๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อารมณ์ ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม 
การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น
 
การสอบของกรมทรัพย์สินทางปัญญา จะมีทั้งการสอบรรจุเป็นข้าราชการ และการสอบเป็นพนักงานราชการหรือลูกจ้าง 
ในกรณีที่สอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ.ก่อน  
แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ.ในบางตำแหน่ง เช่นนิติกร ก็อาจจะใช้ผลทดสอบภาษาอังกฤษ จาก  TOEFL
โดยในประกาศรับสมัครจะระบุคะแนนว่าต้องไม่ต่ำกว่าเท่าใดจึงจะมีสิทธิ์สมัครสอบได้
การสอบเข้ากรมทรัพย์สินทางปัญญาจะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ  
ครั้งที่ 1 โดยการสอบข้อเขียน   
ครั้งที่ 2 โดยการสัมภาษณ์  และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว 
จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์  ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม 
ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้ ฝึกทำข้อสอบเก่า  
โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
วิชาเฉพาะตำแหน่งให้หาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ 
โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการสอบบางตำแหน่งจะข้อสอบอัตนัยด้วย อาจจะมีสัก 2-3 ข้อ  
บางตำแหน่งจะมีเฉพาะปรนัยเลย ดังนั้นผู้เข้าสอบจะต้องเตรียมตัวให้ดีในการอ่านหนังสือสอบ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง  
ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ 
แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่  
แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด  ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ 
รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน  
และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี   นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ 
เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ  เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง 
เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร 
ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
 
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ   
ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน  ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10–30 นาที  แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ 
และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย  การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน  ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา 
ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม  สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม  
พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด  อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน 
 
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 
1. ให้แนะนำตัวเอง  
2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   
3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
วิชาที่ใช้สอบกรมทรัพย์สินทางปัญญา  มีดังนี้คือ
การประเมินครั้งที่  1  โดยวิธีสอบข้อเขียน   (100  คะแนน)
- ความรู้ทั่วไปทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา   40   คะแนน
- ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง    60   คะแนน   ได้แก่ กฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
การประเมินครั้งที่  2 โดยการสอบสัมภาษณ์  (100  คะแนน)
-พิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางาน ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง การมีมนุษย์สัมพันธ์
ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ
-มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจรรยาบรรณ 
 
วิชาที่ใช้สอบกรมทรัพย์สินทางปัญญา   มีดังนี้คือ
1.ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (200 คะแนน )  
ทดสอบความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา   กรมทรัพย์สินทางปัญญา และความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา  และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
2. การสอบสัมภาษณ์  (100 คะแนน )เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่น
เพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ 
ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขัน
เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
ตัวอย่างข้อสอบอัตนัย  กรมทรัพย์สินทางปัญญา 
(1) ท่านมีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา อย่างไรบ้างจงอธิบายมาให้เขาใจ 
(2) ถ้าคุณเป็นนักวิชาการพาณิชย์ คุณจะให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับตัวของผู้ประกอบการไทยอย่างไรถึงจะแข่งขันกับ AEC ได้ 
(3) จงอธิบาย ความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร 
(4) จงอธิบายเกี่ยวกับคำศัพท์ต่อไปนี้
   1. เครื่องหมายการค้า (Trademake) 
   2. ความลับทางการค้า (Trade Secrets) 
   3. ลิขสิทธิ์
(5) ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 4 ฉบับ คือ 
(6) จงอธิบายเกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Utility Patent) 
(7) จงอธิบายความหมายของคำว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย และแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน 
(8) จาก พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2543 ได้ความคุ้มครองเครื่องหมาย 4 ประเภท  อะไรบ้าง
   
รายละเอียดวิชาที่สอบกรมทรัพย์สินทางปัญญา
นิติกร กรมทรัพย์สินทางปัญญา
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา?
3 ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
4 ความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
5 การคุมครองทรัพสินย์ทางปัญญาระหว่างประเทศ
6 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
7 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2527 และแก้ไขเพิ่มเติม
8 แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
9 แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
10 แนวข้อสอบกฎหมายอาญา
11 แนวข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง
12 แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
13 แนวข้อสอบ พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
14 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
 
ตำแหน่งที่สอบกรมทรัพย์สินทางปัญญา
-นิติกร
-นักทรัพยากรบุคคล
-นักวิชาการเงินและบัญชี
-นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตร
-นักวิชาการพาณิชย์



แหล่งข้อมูลจาก
 https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ