ใครไปสอบกรมธนารักษ์มาบ้างคะ ??? เล่าให้ฟังหน่อย

อัพเดตเมื่อ : 24 May 2024 12:18
หน่วยงาน : กรมธนารักษ์
1. คุ้มครอง ดูแล บำรุงรักษา ให้ใช้ จัดประโยชน์ จัดทำนิติกรรม และดำเนินการเกี่ยวกับราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ เช่น การขึ้นทะเบียนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างราชพัสดุและการจัดสรรให้ส่วนราชการใช้ที่ดินเหล่านั้น
2. ผลิตเหรียญกษาปณ์ รวมถึงนำออกใช้และรับคืนเหรียญกษาปณ์ดังกล่าว ตลอดจนดำเนินการเกี่ยวกับเงินตราตามกฎหมายเกี่ยวกับเงินตรา เช่น เมื่อคุณมีเหรียญที่ชำรุดหรือเหรียญรุ่นเก่า คุณสามารถคืนเหรียญนั้นที่กรมธนารักษ์ได้
3. รับ จ่าย และควบคุมเงินคงคลังให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับเงินคงคลัง เช่น การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลัง
4. ดำเนินการกำหนดราคาประเมินของอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งรวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วยเช่นกัน
5. จัดแสดงและอนุรักษ์ทรัพย์สินมีค่าของรัฐ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามระเบียบของกรม เช่น ที่ศาลาเหรียญกษาปณ์ไทย เป็นต้น
คำแนะนำในการสอบกรมธนารักษ์
ผู้ที่จะเข้าสอบกรมธนารักษ์ได้จะต้องเป็นผู้ที่สอบผ่าน  กพ.แล้ว  และต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่งผ่านก่อน  
โดยจะต้องมีคะแนนต่ำกว่าร้อยละ  60  จึงจะมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ต่อไป  ส่วนแนวข้อสอบเป็นข้อสอบ แบบที่ไม่ต้องวิเคราะห์   ออกเนื้อหาตรงๆ  ควรอ่านหนังสือให้มากๆ
 
ในการสัมภาษณ์ กรรมการน่ารักดีเป็นกันเองให้แนะนำตัวเอง ถามถึงลักษณะงานที่เราทำปัจจุบัน  คิดอย่างไรกับงานราชการ  
ส่วนมากจะพูดคุยทั่วไป ไม่ได้ถามเกี่ยวกับเรื่องของกรมฯ  กรรมการไม่ได้ถามคำถามที่เราตอบไมได้   เช่น  รู้เรื่องบัญชีระบบ GM ไหม  รู้ไหมใครเป็นคนควบคุมดูแล  
คุณจะมีวิธีปรับบัญชีที่ใช้อยู่มาใช้กับระบบGM อย่างไร 
การอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ การสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน 
ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน  
 ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ 
และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย
 
นอกจากนี้ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  ผู้บริหาร
 
วิชาที่ใช้สอบกรมธนารักษ์   มีดังนี้คือ 
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน )
 
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง   โดยการสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว 
ประวัติการศึกษา  ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้ารับการคัดเลือกและจากการสัมภาษณ์
รายละเอียดเนื้อหาแนวข้อสอบ
แนวข้อสอบนักวิชาการตรวจสอบภายใน กรมธนารักษ์
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมธนารักษ์
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมธนารักษ์
3 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณ
4 แนวข้อสอบกฎหมายระเบียบงานสารบรรณ
5 ความรู้เกี่ยวกับวินัย จรรยาบรรณ และจรรยาของข้าราชการ
6 แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547
7 แนวข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน-การเมือง-เศรษฐกิจและสังคม 
8 แนวข้อสอบมาตรฐานจริยธรรมของนักวิชาการตรวจสอบภายใน
9 แนวข้อสอบนักวิชาการตรวจสอบภายใน ชุดที่ 1
10 แนวข้อสอบนักวิชาการตรวจสอบภายใน ชุดที่ 2
11 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
MP3 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
 
10 วิธี เตรียมตัวก่อนสอบ ให้ได้คะแนนดี
1.  ทบทวนเนื้อหา
 2. วางแผนการอ่านหนังสือ
 3. มีความตั้งใจอย่างแท้จริง
4. พักผ่อนให้เพียงพอ
 5. สร้างกำลังใจให้ตัวเอง
 6. แลกเปลี่ยนความรู้กับกลุ่มเพื่อนๆที่สอบ
 7.จดโน้ตเพิ่มเติม
8. จำให้เป็นภาพ
9. ฝึกทำโจทย์
10. เพิ่มพลังด้วยอาหารบำรุงสมอง
ตัวอย่างเทคนิคในการสอบกรมธนารักษ์ 7 ข้อ  
ในการสอบให้ประสบความสำเร็จ 
1. การสมัครสอบมีส่วนสำคัญมาก ควรสมัครสอบในวันแรกที่เปิดรับสมัคร เพราะหากสอบได้แล้วลำดับในการเรียกบรรจุจะเรียกจากผู้มีคะแนนมากกว่า แต่เมื่อมีผู้มีคะแนนเท่ากันจะเรียงจากผู้ที่สมัครก่อน ซึ่งเป็นไปได้มากที่จะมีผู้ได้คะแนนเท่ากันเป็นจำนวนหลายคน  ซึ่งหากเราสมัครก่อนในกรณีคะแนนเท่ากันเราจะได้อยู่ในลำดับก่อน
 2.  การเตรียมตัวสอบ ถือว่าเป็นหัวใจหลักของการสอบแข่งขัน ซึ่งมีหนังสือตำรา เกี่ยวกับการสอบแข่งขันมากกมาย แต่เวลาในการเตรียมสอบซึ่งนับตั้งแต่หน่วยงานราชการเปิดรับสมัครจนถึงเวลาสอบ ประมาณ 2 เดือน ซึ่งหากผู้เตรียมตัวสอบอ่านหนังสือแบบกว้างไม่เน้นจุดสำคัญก็จะทำให้พลาดโอกาสในการสอบได้  ดังนั้นควรอ่านประกาศการรับสมัครสอบให้ละเอียดว่าจะออกสอบเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้การเตรียมตัวสอบแคบลงในเวลาอันสั้น
 3. ข้อมูลเฉพาะของแต่ละหน่วยงานราชการก็มีความสำคัญ ควรทำความเข้าใจศึกษาให้ละเอียด เช่น ซื่อเว็บไซต์ ภารกิจหลักขององค์กร อำนาจหน้าที่ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวนโยบาย  วิสัยทัศน์  ฯลฯ
4. ในห้องสอบต้องทำข้อสอบให้ได้  โดยเฉพาะข้อสอบภาค ก. ต้องทำให้ทันเวลา ทำด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง โดยเฉพาะคำถามเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ บางข้อก็สามารถนำตัวเลือกของข้อสอบมาสุ่มหาคำตอบได้เลยโดยไม่ต้องใช้สูตร จะทำให้ผู้เข้าสอบได้คะแนนเพิ่มขึ้น
5. ข้อสอบภาษาไทยเกี่ยวกับการอ่านบทความ จะต้องตอบตามเนื้อความที่โจทย์ให้มาอย่าคิดนอกเหนือจากนั้น อย่าคิดล่วงหน้า และให้สังเกตข้อความเหล่านี้คือ  “ทำให้ , ปรากฏขึ้น, เพราะ,  เนื่องจาก”  ซึ่งคำตอบส่วนใหญ่จะอยู่หลังข้อความเหล่านี้
6. การเลือกคำตอบที่ถูกต้อง โดยเฉพาะตัวเลือกที่เป็นคำเฉพาะเจาะจง ส่วนใหญ่จะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง เช่น หากมีตัวเลือกที่ลงท้ายว่า “เท่านั้น, เพียงอย่างเดียว” ให้ข้ามไปได้เลย
 7. การเดาอย่างมีประสิทธิภาพ  ในการเข้าสอบจากประสบการณ์ ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่ไม่สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้ทุกข้อ จะต้องเดา เทคนิคง่าย ๆ ของการทำข้อสอบประเภทที่ถามเกี่ยวกับ จำนวนกี่คน  อายุกี่ปี ระเวลาเท่าใด    ถ้าหากไม่ทราบเลยว่าข้อใดเป็นข้อที่ถูกต้อง ควรเลือก ข้อ ค หรือ ง ก็ได้ เพราะคำตอบส่วนใหญ่จะเป็น ข้อ ค หรือ ง
 



แหล่งข้อมูลจาก
 https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ