ใครเคยจะไปสอบกรมธุรกิจพลังงานเชิญในกระทู้

อัพเดตเมื่อ : 18 May 2024 17:39
หน่วยงาน : กรมบังคับคดี
วิชาที่ใช้สอบเป็นข้าราชการ   มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน )  
2. การสอบสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์
หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ 
ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขัน
เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
วิชาที่ใช้สอบเป็นพนักงานราชการ   มีดังนี้คือ
การประเมินครั้งที่  1  โดยวิธีสอบข้อเขียน   (100  คะแนน)
- ความรู้ความสามารถทั่วไป  (50  คะแนน ) ทดสอบความรู้ความสามารถในการคิด สรุปหาเหตุผล ความเข้าใจด้านภาษา 
- ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  (50  คะแนน ) ทดสอบความรู้ด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งที่สมัคร 
ความรู้ความสามารถในการใช้ระบบงานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน
การประเมินครั้งที่  2 โดยการสอบสัมภาษณ์  (100  คะแนน)
- ความสามารถในการติดต่อสื่อสารและการให้บริการ  25  คะแนน
- มนุษย์สัมพันธ์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และปฏิภาณไหวพริบ   25  คะแนน
- การทำงานเป็นทีม และความรับผิดชอบ   25  คะแนน
- ความประพฤติ การเสียสละ และอุทิศเวลาให้ราชการ   25  คะแนน
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ   
ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า 
การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย  
การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน  ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม  
สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม  พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด  อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน  
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 
1. ให้แนะนำตัวเอง   
2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   
3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
 
ในการสอบเข้ากรมธุรกิจพลังงาน การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ.  ก่อน  
แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค  ก ของ ก.พ.  การสอบเข้ากรมธุรกิจพลังงาน จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่  2  ครั้ง   คือ  
ครั้งที่  1  โดยการสอบข้อเขียน   
ครั้งที่  2  โดยการสัมภาษณ์  และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว 
จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่  2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์  ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60  
 
การเตรียมตัวสอบ 
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม  
ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก  ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้  ฝึกทำข้อสอบเก่า  
โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง  
ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ 
แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่  
แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด  ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ 
รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน  
และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี   นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ  
เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม   
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น 
ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
ตำแหน่ง/หน้าที่ต่างๆในกระทรวงพลังงาน เงินเดือนในเเต่ละตำเเหนังเท่ากันไหม ?
 - ข้าราชการทุกกระทรวง จะมีตำแหน่งหลายตำแหน่ง ครอบคลุมแทบทุกสาขาวิชา โดยแบ่งเป็นตำแหน่งหลัก กับ ตำแหน่งสนับสนุน
      ตำแหน่งสนับสนุน ก็เช่น ธุรการ นักจัดการงานทั่วไป พัสดุ นิติกร บัญชี ฯลฯ
      (บางตำแหน่งที่เป็นตำแหน่งสนับสนุนของหน่วยนึง อาจจะเป็นตำแหน่งหลักของอีกหน่วยนึงได้)
      ตำแหน่งหลัก ในกระทรวงพลังงาน เช่น นักวิชาการพลังงาน เป็นต้น
      ข้าราชการพลเรือนสามัญ (ที่สังกัดกระทรวงกรมฝ่ายพลเรือนและบรรจุแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน)
      มีฐานเงินเดือนแรกบรรจุ แยกตามตำแหน่งคุณวุฒิที่ใช้บรรจุ ปัจจุบัน ดังนี้ ครับ
      ระดับ ปวช. 9,400 บาท/เดือน
      ระดับ ปวท., อนุปริญญา หลักสูตร 2 ปี 10,840 บาท/เดือน
      ระดับ ปวส., อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี 11,500 บาท/เดือน
      ระดับ ปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน
      ระดับ ปริญญาโท 17,500 บาท/เดือน
      ระดับ ปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน
      บางตำแหน่งในทุกส่วนราชการ อาจะจะมีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้
      เช่น นิติกร ได้รับ 3,000 - 6,000 บาท แล้วแต่ระดับ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
การสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง หรือ การสอบภาค ค. คือ การสอบสัมภาษณ์
     ต้องสอบผ่าน ภาค ก. และ ข. หรือตามเงื่อนไขกำหนด มาก่อน จึงจะมีสิทธิสอบภาค ค.
     การสอบภาค ค. อาจจะมีทั้งสอบมัสภาษณ์อย่างเดียว หรือ จะทดสอบอย่างอื่นเพิ่มเติมก็ได้ เช่น
     ทดลอบจิตวิทยา ทดสอบร่างกาย สอบปฏิบัติ เป็นต้น
 



แหล่งข้อมูลจาก
 https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ