ใครเคยจะไปสอบกรมศิลปากรเชิญในกระทู้

อัพเดตเมื่อ : 22 Mar 2025 19:27
หน่วยงาน : กรมบังคับคดี
กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา
ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ 
อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ
ในการสอบเข้ากรมศิลปากร การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)ของสำนักงาน ก.พ.ก่อน 
แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. การสอบเข้ากรมศิลปากร จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ 
ครั้งที่ 1 โดยการสอบข้อเขียน   
ครั้งที่ 2 โดยการสัมภาษณ์ และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว 
จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
การเตรียมตัวสอบกรมศิลปากร 
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม  
ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก  ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้  ฝึกทำข้อสอบเก่า  โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง  
ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ 
แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่  แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ 
แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด  ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ 
สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน  และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี   นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ 
เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ  เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม   
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น 
ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
 
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ   ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   
ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย  
การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน  ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม  สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม  พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด  อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน  
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 
1. ให้แนะนำตัวเอง   
2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   
3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
วิชาที่ใช้สอบกรมศิลปากร   มีดังนี้คือ
การประเมินครั้งที่  1  ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีสอบข้อเขียน   (200  คะแนน)
การประเมินครั้งที่  2 ความรู้ทั่วไปและสมรรถนะ โดยการสอบสัมภาษณ์  (100  คะแนน)
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการที่เกี่ยวข้อง  ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และความรู้เกี่ยวกับภารกิจของกรมศิลปากร
- สมรรถนะหลัก  ได้แก่  การมุ่งผลสัมฤทธิ์   บริการที่ดี  การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ  การยึดมั่นในความถูกต้อง  ชอบธรรมและจริยธรรม การทำงานเป็นทีม
 
วิชาที่ใช้สอบกรมศิลปากร   มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน )  
2. การสอบสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่น
เพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ 
ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขัน
เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60  จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
รายละเอียดวิชาที่สอบกรมศิลปากร 
 เจ้าพนักงานจดหมายเหตุ กรมศิลปากร
1 ความรู้เกี่ยวกับกรมศิลปากร
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมศิลปากร
3 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับจดหมายเหตุ
4 แนวข้อสอบงานจดหมายเหตุ
5 พระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ.2556
6 แนวข้อสอบ พรบ จดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ.2556
7 พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
8 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
9 พรบ. อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาติทางราชการ พศ. 2558
10 ความรู้เกี่ยวกับบทบาทและการจัดการของพิพิธภัณฑ์
11 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับจดหมายเหตุ
12 แนวข้อสอบ พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550
13 การเตรียมตัวสอบภาค ค. และสอบสัมภาษณ์เข้าทำงานกรมศิลปากร
 
ตำแหน่งที่สอบกรมศิลปากร 
การเงินและบัญชี
เจ้าพนักงานจดหมายเหตุ
เจ้าพนักงานธุรการ
นักจดหมายเหตุ
นักจัดการงานทั่วไป
นักวิชาการตรวจสอบภายใน
นักวิทยาศาสตร์
นาฎศิลปิน (โขนยักษ์)
นายช่างไฟฟ้า
นายช่างโยธา
นิติกร
นักโบราณคดี
ผู้ช่วยนักโบราณคดี
พนักงานเกษตรพื้นฐาน
พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์
ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ
ช่างเขียนแบบ
นักวิชาการจิตรกรรมและประติมากรรม
นักวิชาการช่างศิลป์
นักวิชาการช่างศิลป์ (ด้านการอนุรักษ์)
พนักงานดูแลรักษาโบราณสถาน
พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์
เจ้าพนักงานพัสดุ
เจ้าพนักงานห้องสมุด
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
นักวิชาการเผยแพร่
นักอักษรศาสตร์
นักอักษรศาสตร์ (ด้านจารีตประเพณี)
นายช่างเทคนิค
นายช่างไฟฟ้า
นายช่างศิลปกรรม (ด้านประดับกระจก)
วิศวกรโยธา
- ความรู้ความสามารถ
ตามประกาศกรมศิลปากร (เอกสารหมายเลข 2)
วิธีการประเมิน : โดยวิธีสอบข้อเขียน/สอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ/สอบปฏิบัติ ตามหลักสูตรการสอบ (เอกสารหมายเลข 2)
 
- ทักษะ
ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการเกี่ยวข้อง ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนความรู้เกี่ยวกับภารกิจของกรมศิลปากร
วิธีการประเมิน : โดยวิธีสอบข้อเขียน/สอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ/สอบปฏิบัติ ตามหลักสูตรการสอบ (เอกสารหมายเลข 2)
 
- สมรรถนะ
1. การมุงผลสัมฤทธิ์ (Achievement motivation) 
2. บริการที่ดี (Service Mind) 
3. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ (Expertise) 
4. การยึดมั่นในความถูกต้อง ชอบธรรม และจริยธรรม (Integrity) 
5. การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
วิธีการประเมิน : สอบสัมภาษณ์



แหล่งข้อมูลจาก
 https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

211 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ

รับสร้างจุดเช็คอิน

ที่มา : กรมบังคับคดี

22 Mar 2025

จัดสวนต้นไม้เทียม

ที่มา : กรมบังคับคดี

22 Mar 2025

แม็คโครให้เช่า

ที่มา : กรมบังคับคดี

22 Mar 2025

รื้อถอนคืนพื้นที่

ที่มา : กรมบังคับคดี

21 Mar 2025