ใครเคยจะไปสอบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเชิญในกระทู้

อัพเดตเมื่อ : 30 Apr 2025 14:15
หน่วยงาน : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
1. จะสอบติดนักวิชาการแรงงานได้ยังไง ทำยังไงบ้าง
เราสอบติดและทำงานเป็นนักวิชาการแรงงานปฏิบัติการของ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานมา 4-5 ปีแล้วค่ะ โดยเราเริ่มต้นคือ สอบภาค ก. ของ ก.พ. ผ่านก่อน 
จากนั้นหาสอบ ภาค ข. และ ค. จากหน่วยงานที่เปิดสอบ ซึ่งก็คือ ตำแหน่งนักวิชาการแรงงาน กรมการจัดหางานเมื่อปี 58 เราสอบติดและขึ้นบัญชีอยู่ที่อันดับร้อยกว่า 
ซึ่งในตอนนั้นกรมจัดเขาต้องการแค่ 50 คน เรารออยู่ประมาณครึ่งปี สำนักปลัด ก็มาเรียกใช้บัญชี
**** อันนี้ฝากเตือน กรณีดูประกาศ ต้องดูว่าเรามีวุฒิ มีคุณสมบัติที่ตรงตามประกาศมั๊ย ย้ำ คือ ต้องตรงตามประกาศ โดยเฉพาะวุฒิ 
ต้องการคนจบสาขาไหนก็คือ สาขานั้น ให้เช็คกับ เว็บรับรองคุณวุฒิ ก.พ. ก่อน  แต่ถ้าในประกาศเขียนว่า หรือเกี่ยวข้องกับทางด้านคอมพิวเตอร์ 
อันนี้คืออะไรก็ได้ที่เรียนเกี่ยวกะคอมฯ เป็นต้น
 
2. นักวิชาการแรงงานแรงงาน มี 2 แบบนะ เป็นพนักงานราชการ กับข้าราชการ
-นักวิชาการแรงงานปฏิบัติการที่เป็นข้าราชการ ประกาศจะเขียนว่า ต้องผ่านภาค ก. เงินดือนจะอยู่ที่ หมื่นห้า (อันนี้จะใช้สิทธิรักษาของกรมบัญชีกลาง พ่อแม่ก็ได้ด้วย มี สวัสดิการเป็น กองทุน กบข. บำนาญ เป็นต้น)
-นักวิชาการแรงงานปฏิบัติการที่เป็นพนักงานราชการ ประกาศจะเขียนว่า ไม่ต้องสอบ ภาค ก. ได้เงินเดือนเริ่มต้น หมื่นแปด ต่อสัญญาทุก 4 ปี รักษาพยาบาลด้วย สิทธิประกันสังคม
 
3. ข้อสอบออกอะไรบ้าง เป็นแบบไหน ควรอ่านอะไรดี
ปีที่แราสอบ ภาค ข. เป็น ปรนัยทั้งหมด ส่วนปี่อื่นเราบอกไม่ได้หรอก เราไม่ได้ออกข้อสอบ 555+
แต่ถ้าให้เดานะ 
ความรู้ทั่วไป - ถ้าเกี่ยวกับกระทรวง วิศัยทัศ พันธกิจ หน้าที่ ปลัดกระทรวงคนปัจจุบัน 
                   - ถ้าเกี่ยวกับกรมก็ กรมทำเกี่ยวกับอะไรบ้าง
                   - ถ้าเกี่ยวกับเรื่องแรงงาน นิยามของแรงงานคืออะไร แกร๊บใช่แรงงานมั๊ย แรงงานนอกระบบ ในระบบ แตกต่างกันอย่างไร ประมาณนี้มั้ง
                   - ประชาคิอาเซียน ข้อตกลง ILO
ถ้ากฎหมาย   - กรมจัด หลักๆ ก็ พรบ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน กับ พรบ.ต่างด้าว ต่างด้าวมีกี่แบบ งานไหนทำได้ ห้ามทำ เป็นต้น
                    - กรมสวัสดิ หลักๆ พรบ. คุ้มครองแรงงาน กับ คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน เป็นต้น
                    - ประกันสังคม หลักๆ ก็จะเป็น กองทุนประกันสังคมแหละ มีกี่แบบ มาตรา 33 39 40 ต่างกันอย่างไร แต่ละอย่างส่งเงินแบบไหน ส่งที่ไหนได้บ้าง นายจ้างต้องสบทบในกี่เปอร์เซนต์  ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง เป็นต้น
                    - พรบ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน กับพวกระเบียสารบัญ ไม่แน่ใจว่ามีมั๊ย ถ้าเวลาเหลือก็อ่านแล้วกัน
จะสอบอันไหนมันก็ถามทุก พรบ. แหละ แต่เน้นเรื่องไหนตามกรมเท่านั้น
เอาโบชัวที่เขาแจกที่สำนักงานต่างๆมาอ่านก็ได้ ข้อสอบอยู่ในนั้นแหละ
 
4. ขึ้นบัญชี 2 ปี หรือจนกว่าจะเปิดรับสมัครใหม่คืออะไร เรียกบัญชีคือ อะไร เรามีโอกาสที่จะติดมั๊ย
ถ้าในประการเขามีเขียนว่าขึ้นบัญชีไป 2 ปี หรือจนกว่าจะเปิดรับใหม่ หมายความว่า พอเราสอบ ข้อเขียน หรือ ภาค ข. ของหน่วยงานนั้นๆ ผ่าน รายชื่อเราจะถูกขึ้นทะเบียนไว้ 2 ปี ซึ่งอาจจะมีหน่วยงานในกระทรวง หรือ กระทรวงอื่นๆ ที่ไม่มีงบประมาณจัดสอบ เราก็จะเรียกใช้ บัญชี ถ้าเรายิ่งสอบได้อันดับดีๆ เราก็จะยิ่งมีโอกาสได้บรรจุ แต่ถ้าพ้น 2 ปร บัญชีจะถูกยกเลิก หรือผ่านไปแค่ ปีเดียวแต่เขาเปิดสอบใหม่บัญชีเราก็ถูกยกเลิกเช่นกัน
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ
1.รวบรวมข้อมูล และศึกษา วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ สวัสดิการแรงงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และมาตรฐานแรงงาน รวมทั้ง ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวด้านแรงงาน
2.ปฏิบัติภารกิจการส่งเสริมงานด้านคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ สวัสดิการแรงงาน ความปลอดภัยในการทำงาน และมาตรฐานแรงงาน
3.ให้คำปรึกษา แนะนำ และตอบข้อหารือในเบื้องต้นแก่นายจ้าง ลูกจ้าง ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ ความปลอดภัยในการทำงาน และ
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.จัดทำทะเบียน ประมวลข้อมูล และรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารแรงงาน
5.บันทึกผลการปฏิบัติงานลงในคอมพิวเตอร์ระบบ On line
6.ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
 
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 2 โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ จะต้องเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนในการประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 
2.ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้ผ่านการเลือกสรรจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับคะแนนในการประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียน และการประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 2 โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ แต่ละครั้งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 
3.การขึ้นบัญชีผู้ผ่านการเลือกสรร จะเรียงลำดับที่จากผู้สอบได้คะแนนรวมสูงลงมาตามลำดับ ในกรณีที่มีผู้สอบได้คะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้ที่สอบได้คะแนนประเมินสมรรถนะโดยวิธีการสอบสัมภาษณ์มากกว่าเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า และถ้ายังได้คะแนนประเมินสมรรถนะโดยวิธีการสอบสัมภาษณ์เท่ากันอีก ก็ให้ผู้ได้รับเลขประจำตัวสอบก่อนเป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
คำแนะนำในการสอบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ในการสอบเข้ากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานการสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) 
ของสำนักงาน ก.พ. ก่อน แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. การสอบเข้ากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ 
ครั้งที่ 1 โดยการสอบข้อเขียน 
ครั้งที่ 2 โดยการสัมภาษณ์ และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว 
จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 
 
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก 
ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้ ฝึกทำข้อสอบเก่า โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น 
แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย 
ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด 
ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน 
และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ 
เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม 
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร 
ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน 
ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย 
การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณา
คือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน 
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 
1. ให้แนะนำตัวเอง 
2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ 
3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
วิชาที่ใช้สอบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีดังนี้คือ
การประเมินครั้งที่ 1 โดยวิธีสอบข้อเขียน (100 คะแนน)
- ความรู้ด้านแรงงาน
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
- ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
การประเมินครั้งที่ 2 โดยการสอบสัมภาษณ์ (100 คะแนน)
พิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางาน ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง การมีมนุษย์สัมพันธ์
ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 
วิชาที่ใช้สอบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ( 200 คะแนน ) 
ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัยที่เกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติงานในด้านต่างๆตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในสายงาน รวมถึงความรู้ทางวิชาการที่ใช้ในการปฏิบัติงานในแต่ละด้านที่สมัคร ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง นโยบายรัฐบาล นโยบายของกระทรวงแรงงาน นโยบายกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเหตุการณ์ปัจจุบันต่างๆ
2. การสอบสัมภาษณ์ ( 100 คะแนน ) 
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
 
1. ความรู้เกี่ยวกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
2. แนวข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม
3. สรุปสาระสำคัญของประชาคมอาเซียน
4. แนวข้อสอบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน
5. แนวข้อสอบกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
6. เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
 
ตำแหน่งที่สอบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เจ้าหน้าที่ธุรการ
นักวิชาการแรงงาน
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
 



แหล่งข้อมูลจาก
 https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ

รับจัดลูกโป่ง

ที่มา : กรมบังคับคดี

30 Apr 2025

จ้างนางรำ

ที่มา : กรมบังคับคดี

30 Apr 2025

จัดดอกไม้หน้าเมรุ

ที่มา : กรมบังคับคดี

30 Apr 2025

รับสร้างจุดเช็คอิน

ที่มา : กรมบังคับคดี

30 Apr 2025