ใครเคยจะไปสอบปปช.เชิญในกระทู้

อัพเดตเมื่อ : 18 May 2024 21:24
หน่วยงาน : กรมบังคับคดี
๑. ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลสภาพปัญหา เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการ แนวทางการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ
๒. จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ
๓. ให้คำปรึกษาแนะนำ ประสานงาน เร่งรัด กำกับและติดตาม ให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง ดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ดาวน์โหลดหนังสือเตรียมสอบาชการ ปปช ที่นี่
๔. รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสานติดตามอย่างต่อเนื่องจนได้ข้อยุติ
๕. เป็นกลไกการปฏิบัติหรือประสานการปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) สำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ศอตช. มอบหมายและกำกับติดตามการดำเนินการตามมติ-
ข้อสั่งการ ของ คตช. ที่เกี่ยวข้อง
๖. ทำการตรวจสอบเปรียบเทียบผลการดำเนินการปกครอง วินัยของหน่วยงานในสังกัด เสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีแล้วแต่ละกรณี แล้วแจ้งให้ศอตช. ทราบ
๗. เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในส่วนราชการ
๘. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในส่วนราชการ
๙. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการส่งสำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
-คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และประมวลจริยธรรมอื่นๆ
 
-ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ
 
-ประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนงาน/โครงการ ตลอดจนบูรณาการแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับการคุ้มครองจริยธรรม การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการ และเสริมสร้างวินัยของ
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง
 
-รวบรวมปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงประมวลจริยธรรมต่อสำนักงาน ก.พ.
 
-ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการ การเสริมสร้างวินัย และ
การดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนเสนอ
หัวหน้าส่วนราชการ และส่งผลการดำเนินการให้กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) (National Anti-Corruption Commission) เป็นคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 8 คน 
ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ผู้ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ 
มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 256 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 9-11
 
ในการสอบเข้าเป็น ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ.ก่อน และจะต้องสอบผ่านข้อเขียนก่อนจึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง 
โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก 
ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้ ฝึกทำข้อสอบเก่า โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง 
ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ 
จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด 
ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน 
และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ 
เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น 
ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
การสอบสัมภาษณ์คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ 
ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้
และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา 
ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 
1. ให้แนะนำตัวเอง 
2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ 
3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
เมื่อมาถึงก็ให้เราแนะนำตัวเองก่อนเลย,ประทับใจอะไรปปช.เป็นพิเศษไหม,ความเห็นคิดของเราว่าสื้อมวลชนติว่าปปช.ทำงานช้า ถ้าเราเข้ามาทำงานในนี้จะแก้ไขปัญหาอะไรหรือทำอย่างไร,
แล้วก็ปปช.แบ่งงานเป็นกี่สายงานอะไรบ้างประมาณนี้ละคะ เราทำแปปเดียวแต่คนก่อนหน้าเราถามนานมากๆๆๆ
ตัวอย่างในการสัมภาษณ์ของ ปปช.
- ถ้าต้องเป็นอนุกรรมการไต่สวนแล้วมีญาติพี่น้องกระทำความผิด เราจะทำยังไง จะทำงานต่อหรือเปล่า ,แล้วถ้าผู้บังคับบัญชาให้ทำอะไรเรื่องที่ผิดระเบียบแต่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรจะทำไหม เกลี่ยกล่อมให้พยานมาให้ข้อมูล
- ถ้าให้ไปอยู่ ๓ จังหวัดชายแดนแล้วจะไปได้หรือไม่
- การทุจริตคืออะไร จะมีวิธีการป้องกันปราบปรามการแก้ไขปัญหาการทุจริต ได้อย่างไร
-ประทับใจอะไรปปช.เป็นพิเศษไหม
- ถ้าเราเข้ามาทำงานในนี้จะแก้ไขปัญหาอะไรหรือทำอย่างไร,แล้วก็ปปช.แบ่งงานเป็นกี่สายงานอะไรบ้าง
- จริยธรรมในการทำงานของ ปปช. มีอะไรบ้าง
- หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ป้องกัน หน่วยงานส่วนภูมิภาคมีกี่แห่ง
 
วิชาที่ใช้สอบราชการ ปปช. มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ( 200 คะแนน )
- ความรู้เกี่ยวกับ
- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เฉพาะมาตราที่เกี่ยวข้องกับ ป.ป.ช. 
พระราชกฤษฎีกา บ้านเมืองที่ดี 2546 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
- ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
- ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- ความรู้ความเข้าใจสาระสำคัญในภาษาอังกฤษระดับต้น
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง ( 100 คะแนน ) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่น
เพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม 
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
3. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค ) ( 100 คะแนน ) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่น
เพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
รายละเอียดวิชที่สอบราชการ ปปช.
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับสำนักงาน ป.ป.ช
3 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษเบื้องต้น
4 แนวข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
 
ตำแหน่งที่สอบราชการ ปปช.
พนักงานธุรการ
เจ้าพนักงานตรวจสอบทรัพย์สินปฏิบัติการ
เจ้าพนักงานปราบปรามการทุจริต
เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ
เจ้าหน้าที่การต่างประเทศ
นักจัดการงานทั่วไป
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
ผู้ช่วยพนักงานไต่สวน สายงานปราบปรามการทุจริต
ผู้ช่วยพนักงานไต่สวน
 



แหล่งข้อมูลจาก
 https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

144 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ