ใครเคยจะไปสอบท้องถิ่นเชิญในกระทู้

อัพเดตเมื่อ : 5 May 2024 09:51
หน่วยงาน : ท้องถิ่น เทศบาล อบต. อบจ.
1. ต้องวางแผน
อันดับแรกก่อนที่เราจะเริ่มอ่านหนังสือเตรียมสอบราชการ สิ่งที่เราควรทำคือ การวางแผนอ่านหนังสือและการใช้ชีวิต ว่าเหลือเวลาอีกกี่วันกี่เดือนต้องสอบ 
จะแบ่งเวลาชีวิตแต่ละวันยังไง ควรอ่านเนื้อหาเรื่องอะไรก่อนหลัง ควรอ่านเน้นเรื่องใด ตำแหน่งที่เราสมัครต้องสอบเรื่องอะไรบ้าง 
สัดส่วนคะแนนของแต่ละภาค (ก ข ค) เกณฑ์ผ่านคือเท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งเราจะต้องวางแผนการอ่านเนื้อหาต่าง ๆ 
และจัดเวลาชีวิตในแต่ละวันให้ชัดเจน เพราะมันจะช่วยให้เราเหนื่อยน้อยกว่าการอ่านแบบไม่มีเป้าหมาย
2. เขียน mind map เพื่อช่วยจำ
เนื้อหาความรู้ที่เราต้องเตรียมพร้อมเพื่อสอบราชการนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีข้อมูลเยอะมากที่เราต้องจำ เช่น พ.ร.บ. ต่าง ๆ , ข้อกำหนดและกฎหมายในการปฏิบัติราชการ 
และเนื้อหาอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง ซึ่งถ้าเราสรุปเนื้อหาความรู้แบบเขียนเรียงเป็นบรรทัดปกติก็อาจจะดูธรรมดาทั่วไป 
แต่ถ้าเราหันมาเขียนในรูปแบบของ mind map หรือแผนที่ความคิด ด้วยการวาดภาพระบายสี ขีดเส้นโยงใยความคิด ใช้รูปภาพประกอบ ก็จะช่วยให้สมองจดจำและเก็บบันทึกข้อมูลได้ดีขึ้น 
ทำให้การเรียนรู้อะไรที่ว่ายาก ๆ ก็จะสามารถเข้าใจได้ง่าย

ดาวน์โหลดหนังสือเตรียมสอบข้าราชการท้องถิ่นที่นี่
3 ดูคลิปติวความรู้ฟรีจาก Youtube
นอกจากการอ่านหนังสือด้วยตัวเองแล้ว เราก็ควรหาความรู้เพิ่มเติมด้วยการให้คนเก่ง ๆ สอน แต่ก็ไม่จำเป็นต้องสมัครเรียนแบบเสียเงินตามสถาบันกวดวิชา 
เพราะในยูทูปมีติวเตอร์เก่ง ๆ ที่มีชื่อเสียงสอนฟรีอยู่มากมาย เราสามารถเลือกดูคลิปของใครก็ได้ตามใจชอบ ทำให้เราได้ทบทวนวิชาความรู้อย่างเข้มข้น และได้เคล็ดลับเจ๋ง ๆ ในการทำข้อสอบราชการที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน 
และยังได้เห็นวิธีการทำโจทย์ คิด วิเคราะห์ข้อสอบอีกด้วย
4 หาแนวข้อสอบมาฝึกทำเพื่อทบทวนความรู้ตัวเอง
การฝึกทำข้อสอบหรือหาแนวข้อสอบมาฝึกทำ จะช่วยให้เราได้ทบทวนความรู้ ว่าเราสามารถตอบคำถามของแนวข้อสอบได้ทุกข้อไหม มีคำถามข้อไหนหรือถามถึงประเด็นใดแล้วเราตอบไม่ได้หรือไม่เข้าใจ 
จะได้กลับไปอ่านทบทวนความรู้ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการฝึกทำแนวข้อสอบยังช่วยให้เราเห็นลักษณะของการตั้งคำถามว่าเป็นยังไง เขียนตัวเลือก ก ข ค ง แบบไหน จะได้สร้างความคุ้นเคยก่อนเจอข้อสอบจริง
5 ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงสมอง
การอ่านหนังสือเตรียมสอบราชการ ถือว่าเป็นหนึ่งกิจกรรมที่ต้องใช้สมองทำงานหนักเพื่อเรียนรู้และจดจำเนื้อหาจำนวนมาก เราจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์สำหรับสมอง เช่น ปลา ผักโขม ไข่ พืชตระกูลถั่ว แปะก๊วย ฯลฯ 
เพื่อช่วยเสริมสร้างการทำงานของเซลล์สมอง เหมือนให้สมองได้ออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้เรามีความจำดีขึ้น และมีสมาธิในการอ่านหนังสือสอบมากขึ้น อีกทั้งเราต้องดูแลสุขภาพร่างกายโดยรวมให้ดี ทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน นอนเล่นพักผ่อน 
ทำตัวเฮฮาไร้สาระบ้างเพื่อลดความเครียด สมองจะได้ผ่อนคลายและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี
สำหรับการสอบท้องถิ่น จะแบ่งเป็น 3 ภาค คือ ภาค ก, ภาค ข และภาค ค ซึ่งเราจะมาพูดกันในส่วนของ 2 ภาคแรกนะคะ
ภาค ก คณิตศาสตร์และภาษาไทย
 
สิ่งที่ทุกคนควรรู้ก่อนสอบ นั่นคือ ทั้งภาค ก และภาค ข ต้องได้ 60% ขึ้นไปจะสอบผ่านไปสอบรอบสัมภาษณ์ (ภาค ค) ได้ ฉะนั้น เราต้องไม่เน้นแค่วิชาเฉพาะหรือพรบ. ใดๆ แต่เรา "ควร" เน้นคณิตศาสตร์และภาษาไทยด้วยค่ะ หลายคนตกม้าตาย สอบพรบ.ได้คะแนนสูงมาก แต่ไม่ผ่านคณิตกับไทยก็มีนะคะ เลยอยากให้เพื่อนๆ ระวังกันตรงนี้ด้วย
 
สำหรับหนังสือที่เราใช้อ่าน เราจะไปร้านหนังสือ และ "ลองอ่านหนังสือเล่มที่อ่านแล้วเราเข้าใจ" เปิดดูหลายๆ เล่มเลยค่ะ ดูตรงเฉลยละเอียดด้วยนะคะ แล้วลองคิดตามว่าเราอ่านแล้วเข้าใจมั้ย เพราะบางเล่มเฉลยละเอียดก็จริง แต่อ่านแล้วยังงงอยู่เลย เคยเป็นเหมือนกันมั้ยคะ ตอนแรกก็คิดว่าตัวเองโง่มากที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ (ซึ่งก็เป็นแบบนั้นจริง ฮ่าๆ) แต่พอดูเล่มอื่นๆ เราก็จะเจอหนังสือสักเล่มที่เหมาะกับเรา จากที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็จะเข้าใจมากขึ้น
แบบนี้อ่ะค่ะ
 
จุดสำคัญ คือ ต้องอ่านและฝึกทำข้อสอบเยอะๆค่ะ เพื่อจะได้รู้ว่าตัวเองบกพร่องตรงไหน รวมถึงเมื่อทำข้อสอบไปได้สักระยะหนึ่ง เราจะคิดได้ไวขึ้น ช่วยย่นระยะเวลาในการทำข้อสอบได้ค่ะ บางคนทำข้อสอบไม่ทัน บางคนไม่ทัน 10 กว่าข้อก็มีค่ะ เราเลยคิดว่าการฝึกทำข้อสอบช่วยได้จริงๆ
ภาค ข วิชาเฉพาะตำแหน่ง
 
วิชาเฉพาะตำแหน่ง ส่วนมากก็คือ พรบ. ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน มีออกสังคมบ้าง ภาษาอังกฤษบ้าง แต่ "วิชาที่เราควรทำคะแนนได้ดีที่สุด คือ พรบ." เพราะออกตรงตามตัวษร ขอบเขตการออกชัดเจนตามพรบ. ไม่เหมือนกับวิชาสังคมหรือวิชาอื่น ที่สามารถนำอะไรมาเป็นข้อสอบก็ได้
เราขอสรุปประเด็นแบบนี้นะคะ
1. อ่าน "พรบ.ฉบับเต็ม" เพราะจะทำให้เราเข้าใจภาพรวมทั้งหมด รวมถึงหนังสือบางเล่มเฉลยผิดค่ะ ซึ่งถ้าเราอ่านพรบ.ฉบับจริงมา เราจะรู้ว่าไม่ใช่ ไม่คุ้นนะ ประมาณนี้ค่ะ
 
2.  "อัปเดต พรบ." เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา พรบ.ถูกแก้ไขหลายฉบับมาก บางฉบับ search google แล้วขึ้นมาเป็นอันแรกเลย แต่มันคือฉบับเก่า แบบนี้ก็มีนะคะ เพราะฉะนั้นอยากให้ตรวจสอบก่อนอ่านสักนิด ว่าที่เราอ่านอยู่มันฉบับล่าสุดใช่มั้ย จะได้ไม่ต้องหงุดหงิดใจกันไปหลังอ่านจบค่ะ
อีกอย่างหนึ่ง คือ ถ้า พรบ.อัปเดตใหม่ประเด็นไหน ประเด็นนั้นมักจะถูกนำมาถามในข้อสอบด้วยค่ะ
 
3. "ฝึกทำข้อสอบ" แม้เราจะอ่าน พรบ. ฉบับเต็มมาแล้ว แต่การฝึกทำข้อสอบจะช่วยให้เราทำข้อสอบได้ไวขึ้น หรือรู้ว่าโจทย์มักจะหลอกอะไร ประเด็นไหนค่ะ
 
4. การติว เราเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้ลงติวนะคะ แต่เราขอยืมหนังสือของเพื่อนที่ไปติวมาอ่านค่ะ (เป็นการติวแบบวันเดียว) ซึ่งเค้าก็มีเทคนิคการจำ หรือเน้นบางจุดที่เราคิดว่าไม่สำคัญและอ่านผ่านๆ ไป แต่ถ้าถามว่าจำเป็นมั้ย ไม่มีเวลาลงติวจริงๆ ก็ไม่ต้องเสียใจไปค่ะ เพราะหลายๆ คนที่ติว แต่สอบไม่ติดก็มี  วิธีนี้คือเสริมเท่านั้นค่ะ แต่หลักๆ เรายังเน้นข้อ 1 - 3 มากกว่าอยู่ดีค่ะ
สิ่งที่ต้องทำถ้าอยากสอบราชการท้องถิ่นผ่านรอบนี้
1. จัดตารางอ่านหนังสือ โดยแบ่งออกเป็น 3 โค้ง
-โค้งแรก ตั้งแต่วันนี้ ถึงสิ้นปี
-โค้งสอง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 20 ม.ค. 62
-โค้งสุดท้าย ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. - 27 ม.ค. 62
2. โค้งแรก ให้ฝึกอ่านและทำแนวข้อสอบ เลข ไทย อังกฤษ (ตามมาตรฐานข้อสอบ ก.พ.) เยอะๆ
3. โค้งสอง ให้อ่านและฝึกทำข้อสอบกฎหมาย ภาค ก. และ ข.
4. โค้งสุดท้าย ทบทวนเรื่องที่ยังอ่อนอยู่ (แต่พอฟื้นฟูได้) และตัดเรื่องที่ยังอ่อนอยู่ (แต่เกินเยียวยา) ทิ้งไป
5. เมื่อประกาศรับสมัครสอบแล้ว
-ให้รีบตรวจสอบวุฒิ หากสงสัยประการใดให้รีบโทรถามกรมส่งเสริมฯ โดยตรง (ไม่ควรถามที่อื่นเพราะไม่มีใครรู้ดีเท่าเจ้าหน้าที่กรมฯ) 
-ให้ตรวจสอบขอบเขตเนื้อหาวิชาต่างๆ ตามประกาศว่ามีเรื่องใดบ้างที่ใช้สอบ
 
คุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ารับราชการท้องถิ่น
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับพนักงานเทศบาล ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 และประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับพนักงานส่วนตำบล ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ดังต่อไปนี้
 
มีสัญญชาติไทย
มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล และคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลกำหนด
ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามมาตรฐานทั่วไป หรือหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น หรือตามกฎหมายอื่น
ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี จนเป็นที่รังเกียจของสังคม
ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำ ความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามมาตรฐานทั่วไปหรือหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น หรือตามกฎหมายอื่น
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก พราะกระทำผิดวินัยตามมาตรฐานทั่วไปหรือหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น หรือตามกฎหมายอื่น
ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของการสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการคือ “วุฒิการศึกษา”
ด้วยการนำชื่อหลักสูตรที่เราจบการศึกษา (หรือชื่อปริญญาที่เรารับ) มาตรวจสอบ
โดยการรับรองคุณวุฒิในการในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หลัก ๆ จะอ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.
(สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
ทาง ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิเป็น “สาขา” และ “ทาง” เช่นการรับรองคุณวุฒิ​จะรับ​รองเป็น สาขาและทาง
สาขาคือกลุ่มสาขาวิชาใหญ่ เช่น สาขาวิศวกรรม​ศาสตร์​ สาขานิติศาสตร์​ สาขาเกษตร​ศาสตร์
ทางคือวิชาเอกที่เรียน เช่น ทางวิศวกรรม​คอมพิวเตอร์​ ทางพืชไร่ ทางธรณีวิทยา
 
การประกาศรับ​สมัคร​สอบ​งานราชการ ก็จะกำหนด สาขาและทาง
- ถ้ากำหนดสาขา ไม่กำห​นด​ทาง สาขาต้องตรง ส่วนทางจะเป็นอะไรก็ได้
- ถ้ากำหนดสาขาและทาง สาขาและทางต้องตรงตามกำหนด
- ถ้ากำห​นด​แต่เฉพาะทาง สาขาจะเป็น​อะไร​ก็​ได้แต่ทางต้องตรง
 



แหล่งข้อมูลจาก
 https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/

>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 

>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ