กาฬสินธุ์

อัพเดตเมื่อ : 20 May 2024 01:27
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางหรือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 510 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี

 
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 โดยท้าวโสมพะมิตรได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (เมืองศรีสัตตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์) พร้อมไพร่พล และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำปาว เรียกว่า "บ้านแก่งสำโรง" แล้วได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้ายกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า "เมืองกาฬสินธุ์" ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล กาฬ แปลว่า "ดำ" สินธุ์ แปลว่า "น้ำ" กาฬสินธุ์ จึงแปลว่า "น้ำดำ" (น้ำดำในที่นี้หมายถึง น้ำที่ใสสะอาดจนมองเห็นดินสีดำ ซึ่งดินดำเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด) ทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็นพระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) ครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก
 
กาฬสินธุ์ มีแหล่งซากไดโนเสาร์และซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ หลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ อีกทั้งยังมีชื่อเสียงด้านโปงลางและผ้าไหมแพรวา นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นลาว, เขมร, จีน, เวียดนาม, ภูไท, กะเลิง, ไทข่า, ไทดำ และญ้อ เป็นต้น
 
อาณาเขตติดต่อ
จังหวัดกาฬสินธุ์มีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ จรดจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันออก จรดจังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ จรดจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก จรดจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดขอนแก่น




อุทยาน
-จังหวัดกาฬสินธุ์มีพื้นที่ป่าทั้งหมดประมาณ 1,150,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27 ของพื้นที่ในจังหวัด
-อุทยานแห่งชาติภูพาน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของป่าสงวน ฯ ป่าแก้งกะอาม และบางส่วนของป่าดงห้วยผา อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ และอำเภอห้วยผึ้ง มีพื้นที่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 57,500 ไร่ ประกาศเป็นอุทยาน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2518 และปี พ.ศ. 2525 (สกลนคร-กาฬสินธุ์)
-อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ อ.คำม่วง อ.สมเด็จ บางส่วน (สกลนคร-อุดรธานี-กาฬสินธุ์)
-วนอุทยานภูพระ อยู่ในตำบลนาตาล อำเภอท่าคันโท มีพื้นที่ประมาณ 6,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงมูล
-วนอุทยานภูแฝก อยู่ที่บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงห้วยผา
-วนอุทยานภูผาวัว อยู่ในตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงด่านแย้
-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอเขาวง มีพื้นที่ประมาณ 28,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวน ฯ ป่าดงด่านแย้ และป่าตอห่ม
-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาว อยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธ์ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท และอำเภอเมือง มีพื้นที่ประมาณ 200,000 ไร่เศษ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้ำของเขื่อนลำปาว
-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงบังอี แปลงที่ 2
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงระแนง อยู่ในเขตอำเภอยางตลาด และอำเภอห้วยเม็ก มีพื้นที่ประมาณ 69,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. 2499
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงแม่แฝด อยู่ในเขตอำเภอนามน อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์และอำเภอเมืองมีพื้นที่ประมาณ 119,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. 2504
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่แปลงที่ 1 อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ 12,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. 2501
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู อยู่ในเขตอำเภอเขาวง และอำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ 88,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2508
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงห้วยผา อยู่ในเขตอำเภอห้วยผึ้ง และอำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ 110,500 ไร่ ประกาศเป็น-ป่าสงวนเมื่อปี พ.ศ. 2508
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่านาจาร - ดงขวาง อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอเมืองมีพื้นที่ประมาณ 37,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. 2506
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโคกกลางหมื่น อยู่ในเขตอำเภอเมือง มีพื้นที่ประมาณ 15,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2509
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงนามน อยู่ในเขตอำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ และอำเภอเมืองมีพื้นที่ประมาณ 12,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2509
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากังกะอวม อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ มีพื้นที่ประมาณ 88,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2509
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงด่านแย้ อยู่ในเขตอำเภอคำม่วง กิ่งอำเภอสามชัย และอำเภอเขาวง มีพื้นที่ประมาณ 76,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2510
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูพาน อยู่ในเขตอำเภอคำม่วง กิ่งอำเภอสามชัย และอำเภอสมเด็จ มีพื้นที่ประมาณ 215,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2511
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงมูล อยู่ในเขตอำเภอห้วยเม็ก อำเภอหนองกุงศรี และอำเภอท่าคันโท มีพื้นที่ประมาณ 259,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2518
-ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่ แปลงที่ 2 อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2517
-สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีอยู่แห่งเดียวคือ สถานี ฯ ลำปาว มีพื้นที่ประมาณ 1,500 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
-ป่าชุมชน คือ กิจการของป่าที่ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อีกรูปแบบหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2541 มีป่าชุมชนอยู่ 15 หมู่บ้าน เช่น ป่าชุมชนบ้านหนองผ้าอ้อม และป่าชุมชนบ้านสูงเนิน เป็นต้น

 
 
สัญลักษณ์จังหวัด
-ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพะยอม (Shorea roxburghii)
-ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะหาด (Artocarpus lacucha)
-คำขวัญประจำจังหวัด: หลวงพ่อองค์ดำลือเลือง เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
 


วัฒนธรรม
เทศกาลและงานประเพณี
-งานมหกรรมโปงลาง ผ้าไหมแพรวา และงานกาชาด ลานหน้าศาลากลางจังหวัด(หลังเก่า)
-งานมหกรรมวิจิตรแพรวา ราชินีแห่งไหม ลานหน้าศาลากลางจังหวัด(หลังเก่า)
-งานประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป(ลอยกระทง) สวนสาธารณะกุดน้ำกิน
-งานประเพณีบุนผะเหวด(บุญพระเวส)
-งานประเพณีบุญสรงน้ำ หรือตรุษสงกรานต์
-งานประเพณีออกพรรษา และตักบาตรเทโวโรหณะ วัดภูสิงห์ (อำเภอสหัสขันธ์)
-งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
-งานประเพณีบรวงสรวงเจ้าปู่ (อำเภอหนองกุงศรี)
-งานประเพณีบุญบั้งไฟล้าน (อำเภอท่าคันโท)
-งานนมัสการพระธาตุพนมจำลอง (อำเภอห้วยเม็ก)
-งานประเพณีบุณคูณลาน (อำเภอยางตลาด)
-งานประเพณีบุญคูนลานสู่ขวัญข้าว(บุญเดือนยี่) (วัดเศวตวันวนาราม ต.เหนือ)
-งานนมัสการพระธาตุยาคู(งานแสดง แสง สี เสียง ทวารวดีมิ่งหล้าเมืองฟ้าแดดสงยาง) (อำเภอกมลาไสย)
-งานประเพณีบุญบั้งไฟ ตะไลล้าน (อำเภอกุฉินารายณ์)
-ประเพณีการแข่งขันเรือยาว (อำเภอกมลาไสย)
-งานมหกรรมเส็งกลองร่องคำ (อำเภอร่องคำ)
 


สถานที่ท่องเที่ยว
-อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร ( เจ้าโสมพะมิตร ) (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
-วัดกลาง (พระอารามหลวง ชนิดสามัญ) (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
-วัดศรีบุญเรือง (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
-วัดป่ามัชฌิมาวาส (ตำบลลำพาน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์)
-เขื่อนลำปาว (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
-สวนสะออน (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
-หาดดอกเกด (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
-พระพุทธสถานภูปอ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
-พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
-ฟ้าแดดสงยาง (อำเภอกมลาไสย)
-พระธาตุยาคู (อำเภอกมลาไสย)
-ใบเสมาบ้านก้อม (อำเภอกมลาไสย)
-โนนสาวเอ้ (อำเภอกมลาไสย)
-หมู่บ้านพัฒนาวัฒนธรรมผู้ไทยบ้านโคกโก่ง (อำเภอกุฉินารายณ์)
-น้ำตกตาดสูง (อำเภอกุฉินารายณ์)
-พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไท (อำเภอกุฉินารายณ์)
-น้ำตกตาดทอง (อำเภอเขาวง)
-เครือข่ายอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน บ้านโพนสวรรค์ (อำเภอเขาวง)
-พระธาตุพนมจำลอง (อำเภอห้วยเม็ก)
-พิพิธภัณฑ์สิรินธร (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว) (อำเภอสหัสขันธ์)
-พระพุทธไสยาสน์ถ้ำภูค่าว (อำเภอสหัสขันธ์)
-พุทธสถานภูสิงห์ (อำเภอสหัสขันธ์)
-แหลมโนนวิเศษ (อำเภอสหัสขันธ์)
-หลวงพ่อบันดาลฤทธิ์ผล (อำเภอสหัสขันธ์)
-พระพุทธอนันตคีรีประดิษฐาน ณ วนอุทยานภูพระ (อำเภอท่าคันโท)
-ศูนย์วัฒนธรรมชาวผู้ไทยบ้านโพน (ศูนย์วิจิตรแพรวาบ้านโพน) (อำเภอคำม่วง)
-สะพานเทพสุดา (สะพานข้ามน้ำจืดที่ยาวที่สุดในประเทศ) (อำเภอหนองกุงศรี)
-ผาเสวย (อำเภอสมเด็จ)
-วัดป่าบ้านนาขาม เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปองค์ดำ ปัจจุบันได้อัญเชิญพระองค์ดำไปประดิษฐานที่วัดกลาง จ.กาฬสินธุ์ (อำเภอนาคู)
-พิพิธภัณฑ์วัดกลางภูแล่นช้าง (อำเภอนาคู)
-ถ้ำเสรีไทย (อำเภอนาคู)
-พุทธสถานหลวงปู่ใหญ่ (อำเภอดอนจาน)
-พระแสนเมือง (หลวงปู่พระแสน) ประดิษฐาน ณ วัดป่ายางเครือ (บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์)
-พระเทพ (หลวงปู่พระเทพ) ประดิษฐาน ณ วัดป่ายางเครือ (บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์)
-วัดป่ายางเครือ วัดโบราณ ประดิษฐานหลวงปู่พระแสนและหลวงปู่พระเทพ (บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์)
-เมืองเชียงเครือ/นครยางเครือ เมืองขอมโบราณ ปกครองโดย พญาเชียงเครือ ราชโอรสในพญาเชียงโสม แห่งเมืองเชียงโสม มีพี่น้อง ได้แก่ พญาจันทราช (พญาเชียงโสม) พญาธรรม พญาเชียงสง พญาเชียงสา พญาเชียงสร้อย /เมืองเชียงเครือเป็นเมืองยุคเดียวกันกับเมืองฟ้าแดดสงยาง มีความเจริญรุ่งเรืองราวพุทธศวรรษที่ 12-16 ( ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์)
-น้ำตกผานางคอย,น้ำตกผาระแงง (อำเภอนาคู)
-อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อ่างวังคำ (อำเภอเขาวง)
-วัดป่าโพนวิมาน (วัดป่าพุทธบุตร) พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ฟอสซิลปลาโบราณ (อำภอเขาวง)




Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ