ฉะเชิงเทรา

อัพเดตเมื่อ : 7 May 2024 03:11
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
ฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงมีอาณาเขตติดกับอ่าวไทยเป็นระยะสั้นประมาณ 12 กิโลเมตร


ประวัติ
พ.ศ. 1000 มีชุมชนบ้านเมืองโบราณบริเวณสองฝั่งคลองลำน้ำท่าลาด หรือคลองท่าลาด ที่ไหลผ่านอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา หลายแห่งตั้งแต่บ้านเกาะขนุน ถึงบ้านท่าเกวียน ฯลฯ หลังพ.ศ. 1500 ฉะเชิงเทราและดินแดนใกล้เคียงคือ เมืองมโหสถ (อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี) กับเมืองพระรถ (อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี) ต่างรุ่งเรืองขึ้นจากการค้าโลก และมีความเกี่ยวข้องเป็นเครือญาติกับกษัตริย์ขอมทั้งเมืองละโว้ (ลพบุรี) และเมืองพระนคร (กัมพูชา) จนหลังหลัง พ.ศ. 1700 บริเวณลุ่มน้ำบางปะกง ตั้งแต่เขตฉะเชิงเทราถึงปราจีนบุรีกลายเป็นป่าดง เนื่องจากเป็นที่ดอนมากขึ้นจากทับถมของตะกอนปากแม่น้ำ ส่งผลให้เส้นทางคมนาคมออกอ่าวไทยไม่ค่อยสะดวกเช่นเดิม จนหลัง พ.ศ. 2000 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดให้ซ่อมแปลงคลองสำโรง ซึ่งเชื่อมแม่น้ำบางปะกง กับแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้สะดวกในการคมนาคม


ที่มาของคำว่า "ฉะเชิงเทรา" มีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน 2 ข้อ คือ
คำว่า ฉะเชิงเทรา มาจากคำภาษาเขมร 2 คำ คือ สทึง+เจรา ซึ่ง สทึง (ស្ទឹង) แปลว่า แม่น้ำสายย่อย และ เจรา (ជ្រៅ) แปลว่า ลึก เมื่อรวมความหมายก็ได้ว่า แม่น้ำลึก ซึ่งหมายถึงแม่น้ำบางปะกงนั่นเอง (มีผู้โต้แย้งข้อสันนิษฐานนี้ เนื่องจากว่าเมืองฉะเชิงเทรานั้นตั้งขึ้นมาในสมัยเดียวกับเมืองสาครบุรี เมืองนครไชยศรี และเมืองนนทบุรี ซึ่งไม่น่าจะมีคำเขมรมาปนอยู่ในชื่อเมืองแล้ว)
คำว่า ฉะเชิงเทรา อาจเพี้ยนมาจากคำว่า แสงเชรา แสงเซา หรือ แซงเซา (ข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน)

ถอนศาลฉะเชิงเทรา

ภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศของจังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนตะวันตกของจังหวัดตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ส่วนตะวันออกมีลักษณะเป็นเนินเขา ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยกว่า 100 เมตร จังหวัดฉะเชิงเทรามีเกาะจำนวน 1 เกาะ คือ เกาะกลาง ที่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง
 
สัญลักษณ์ของจังหวัด
ตราประจำจังหวัด เป็นรูปพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารหลังใหม่ หมายถึง ที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของเมือง ตำนานเล่าว่าเป็นพระพุทธรูปแสดงปาฏิหาริย์ ลอยทวนน้ำมา ขึ้นที่จังหวัด ชาวเมืองเคารพ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้ดิน และน้ำอุดมสมบูรณ์ มีรูปครุฑ และชื่อจังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ด้านล่างโบสถ์
สีหลังคาพระอุโบสถ : เป็นสีด่อน (สีเทาควันบุหรี่) ซึ่งเป็นจริงของหลังคาพระอุโบสถหลังใหม่
พื้นหน้าพระอุโบสถ : เป็นสีเทาอ่อน มิใช่สีดำ
ขอบสีรอบเครื่องหมายราชการ : เป็นสีแดงเลือดหมู ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

86 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ