ชุมพร

อัพเดตเมื่อ : 7 May 2024 02:30
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
ชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี "อาสาจาม" ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร


ประวัติเมืองชุมพร
คำว่า ชุมพร มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” ต่อมาเปลี่ยนเป็น ชุมพร อีกประการหนึ่ง ในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบ เป็นการบำรุงขวัญทหารในสถานที่ชุมนุม เพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพรหรือประชุมพร ซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า “ชุมนุมพร” เช่นเดียวกัน



อาณาเขตการปกครอง
เจ้าเมืองชุมพร ปกครองอาณาเขตเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี มีเมืองจัตวาเป็นเมืองขึ้น 8 เมือง ดังนี้
เมืองปะทิว (อำเภอปะทิว)
เมืองท่าแซะ (อำเภอท่าแซะ) เมืองหน้าด่านเมืองชุมพร ด่านทัพต้นไทร (เนิน 491) หรือบ้านต้นไทร[3]
เมืองตะโก (อำเภอทุ่งตะโก)
เมืองหลังสวน (อำเภอหลังสวน อำเภอละแม อำเภอท่าชนะ)
เมืองตระ (อำเภอกระบุรี)
เมืองระนอง (จังหวัดระนอง)
เมืองมะลิวัลย์ (จังหวัดเกาะสอง) อยู่ในประเทศพม่า
เมืองกำเนิดนพคุณ (อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก แหล่งขุดทองคำบางสะพาน)

ถอนศาลชุมพร

ภูมิประเทศ
จังหวัดชุมพรนับเป็นประตูสู่ภาคใต้ (เมื่อลงจากภาคกลาง) มีพื้นที่ทางเหนือติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทางตะวันออกติดชายฝั่งอ่าวไทย ด้านใต้ติดกับอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และทางตะวันตกติดต่อกับอำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และส่วนหนึ่งติดกับประเทศพม่า
สภาพพื้นที่ทั่วไปมีภูเขาสูง มีแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำท่าตะเภา ในอำเภอเมืองชุมพร มีความยาว 33 กิโลเมตร แม่น้ำสวี ในอำเภอสวี มีความยาว 50 กิโลเมตร และ แม่น้ำหลังสวน ในอำเภอหลังสวน มีความยาว 100 กิโลเมตร แม่น้ำทุกสายไหลลงสู่อ่าวไทย ในทะเลนอกฝั่งของจังหวัดชุมพร มีเกาะน้อยใหญ่เกือบ 50 เกาะ
 
ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดชุมพรคล้ายกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ กล่าวคือ มีฤดูฝนมากกว่าฤดูอื่น นั่นคือ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม โดยมีลมมรสุมพัดผ่าน ฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

118 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ