พังงา

อัพเดตเมื่อ : 7 May 2024 23:51
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
พังงา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย เดิมจังหวัดพังงาเรียกว่า เมืองภูงา ซึ่งเป็นชื่อของ เขางา เขาพังงา เขากราภูงา หรือ เขาพังกา (ภาษามลายูแปลว่า ป่าน้ำภูงา) โดยเมืองภูงานั้นขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย การตั้งชื่อว่า เมืองภูงา อาจสอดคล้องกับเมืองภูเก็ต เหตุที่ชื่อเปลี่ยนจากภูงาเป็นพังงา สันนิษฐานว่า เนื่องจากเมืองภูงามีต่างชาติเข้ามาติดต่อซื้อแร่ดีบุกจำนวนมาก จึงเขียนชื่อเมืองว่า Phunga หรือ Punga อ่านว่า ภูงา พังงา หรือ พังกา ต่อมาจึงออกเสียงเพี้ยนมาเป็น "พังงา"


ประวัติ
จังหวัดพังงาเคยเป็นที่อาศัยของมนุษย์โบราณก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ เช่น เศษเครื่องปั้นดินเผา กำไลหิน และเปลือกหอยบริเวณถ้ำในวัดสุวรรณคูหา อำเภอตะกั่วทุ่ง และภาพเขียนสีที่ผนังเขาเขียน อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ในขณะที่มีการตั้งเมืองถลางที่พังงา พ.ศ. 2365 เจมส์ โลว์ หัวหน้าคณะทูตของผู้ว่าเกาะปีนัง ผู้รับหน้าที่เจรจาปัญหากับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ได้บันทึกไว้ใน จดหมายเหตุเจมส์ โลว์ ว่า "เมืองนี้มีผู้คนอยู่ไม่เกิน 100 หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกระท่อมซึ่งปลูกติดต่อกันประมาณ 30 หลังคาเรือน เป็นชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกราก บ้านเรือนกว้างใหญ่สะดวกสบายและสร้างอย่างเป็นระเบียบ



สภาพทางภูมิศาสตร์
จังหวัดพังงามีเนื้อที่ประมาณ 4,171 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลนและป่าดงดิบคิดเป็นร้อยละ 57 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีพื้นที่ติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดระนอง
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดกระบี่
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดภูเก็ตและทะเลอันดามัน
ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรอินเดีย
และมีเกาะต่าง ๆ อยู่ในทะเลอันดามันมากถึง 155 เกาะ นับเป็นจังหวัดที่มีจำนวนเกาะมากที่สุดในประเทศไทย

ถอนศาลพังงา

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกจำปูน (Anaxagorea javanica)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: เทพทาโร (Cinnamomum porrectum)
คำขวัญประจำจังหวัด: แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร
 
สถานที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
อุทยานแห่งชาติศรีพังงา อยู่ในเขตอำเภอคุระบุรีและอำเภอตะกั่วป่า ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขานมสาว เนื้อที่ 153,800 ไร่ เป็นประเภทป่าดิบชื้น พรรณไม้ที่สำคัญ เช่น ไม้ยาง ตะเคียนทอง ปาล์ม กระพ้อหนู ยังสามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น สมเสร็จ เลียงผา เก้ง นกเงือก ประกาศเป็นอุทยานเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2531 ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

94 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ