เขตคลองเตย

อัพเดตเมื่อ : 27 Apr 2024 12:44
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
เขตคลองเตย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม ‘คลองเตย’ หนึ่งในย่านใจกลางเมืองที่มีเรื่องราวการตั้งรกรากอยู่อาศัยและทำการค้ามาอย่างยาวนาน หากวิเคราะห์พื้นที่ตามเขตการปกครองของกรุงเทพฯ เขตคลองเตย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งพระนคร คำว่า ‘คลองเตย’ สันนิษฐานว่าได้ชื่อตามคลองอันเป็นสัญลักษณ์ของท้องถิ่น และจากชื่อเรียก ต้นเตย ที่ขึ้นมากบริเวณริมคลองนั้น โดยสมัยก่อนเป็นพื้นที่เปลี่ยว ส่วนใหญ่เป็นท้องนาและสวนผัก โดยผู้คนส่วนใหญ่ใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก


ข้อมูลทั่วไปของเขต
เขตคลองเตยแบ่งพื้นที่เขตการปกครองเป็น 3 แขวง คือ
1.  แขวงคลองเตย         7.069  ตารางกิโลเมตร
2.  แขวงคลองตัน         1.728  ตารางกิโลเมตร
3.  แขวงพระโขนง        3.519  ตารางกิโลเมตร
รวมพื้นที่เขต              12.316 ตารางกิโลเมตร

ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตวัฒนา ตั้งแต่แนวเขตทางรถไฟสายช่องนนทรีด้านตะวันออกติดถนนสุขุมวิทด้านเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางของถนนสุขุมวิท ด้านเหนือผ่านซอยสุขุมวิท 2 (ซอยนานาใต้) จนถึงบริเวณปากซอยสุขุมวิท 52 (ซอยศิริพร) ด้านเหนือ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพระโขนง เริ่มจากบริเวณปากซอยสุขุมวิท 52 (ซอยศิริพร) ด้านเหนือ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวขอบทางจนถึงบริเวณปลายซอยสวัสดีตัดผ่านทางด่วนเฉลิมมหานครผ่านแนวทางรถไฟเก่าสายปากน้ำ ผ่านชุมชนสวนอ้อยจรดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่หลังชุมชนสวนอ้อยจรดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงแนวทางเขตทางรถไฟสายช่องนนทรีด้านตะวันออก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตสาทรและเขตปทุมวัน ตั้งแต่แนวเขตทางรถไฟสาย ช่องนนทรีด้านตะวันออกติดแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศเหนือตามแนวเขตทางรถไฟสายช่องนนทรีด้านตะวันออกบรรจบ ถนนสุขุมวิทด้านเหนือ

 
ประวัติความเป็นมา
ย้อนไปถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) บริเวณเขตคลองเตยเคยเป็นที่ตั้งของ เมืองปากน้ำพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่านปากน้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะขึ้นไปสู่เมืองอื่น ๆ (อยู่ตรงข้ามกับเมือง (อำเภอ) พระประแดงในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1) เมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณนี้จึงอยู่ในเขตการปกครองของเมือง (จังหวัด) พระประแดง โดยมีฐานะเป็น ตำบลคลองเตย ขึ้นกับอำเภอพระโขนง ต่อมาอำเภอพระโขนงได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลคลองเตยจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองเตย เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 (คลองเตย) ขึ้นดูแลแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่แขวงทั้งสามตั้งเป็น เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
 

สถานที่สำคัญ
การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
อุทยานเบญจสิริ
สวนเบญจกิติ
สวนป่าเบญจกิติ
ช่อง 3 เอชดี
กรมศุลกากร
ท่าเรือกรุงเทพ
การท่าเรือแห่งประเทศไทย
แพตสเตเดียม สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ)
วัดคลองเตยใน
วัดคลองเตยนอก
วัดสะพาน
ตำหนักปลายเนิน

ถอนศาลเขตคลองเตย

การคมนาคม
ทางบก
ถนนพระรามที่ 4
ถนนสุขุมวิท
ถนนสุนทรโกษา
ถนนอาจณรงค์
ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
ถนนเกษมราษฎร์
ถนนรัชดาภิเษก
ถนนพระรามที่ 3
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ทางพิเศษฉลองรัช
 
ทางน้ำ
แม่น้ำเจ้าพระยา
คลองพระโขนง
คลองขุดท่าเรือ
 
ระบบขนส่งมวลชน
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
สถานีคลองเตย บริเวณถนนพระรามที่ 4 ด้านหน้าสำนักงานการไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย บริเวณทิศตะวันออกของจุดตัดทางรถไฟสายแม่น้ำ และทางขึ้น–ลงทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ซึ่งเป็นจุดบรรจบถนนพระรามที่ 4 ถนนเชื้อเพลิง และถนนดวงพิทักษ์
สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณถนนรัชดาภิเษก–พระรามที่ 4 ด้านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณทิศเหนือของทางแยกพระรามที่ 4 จุดบรรจบของถนนรัชดาภิเษก ถนนพระรามที่ 4 และถนนพระรามที่ 3
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (ร่วมกับเขตวัฒนา)
สถานีนานา
สถานีอโศก
สถานีพร้อมพงษ์
สถานีทองหล่อ
สถานีเอกมัย
สถานีพระโขนง
สถานีอ่อนนุช
 


Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

93 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ