เขตบางกอกน้อย

อัพเดตเมื่อ : 8 May 2024 16:20
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
เขตบางกอกน้อย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า "สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา"


ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตบางกอกน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางพลัด มีถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพระนคร มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่ มีคลองมอญเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางขุนศรี คลองชักพระ และคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
 
เขตบางกอกน้อย
พื้นที่  11.944  ตร.กม.
ประชากร  110,417  คน (พ.ศ. 2561)
ความหนาแน่น  9,244  คน/ตร.กม.


ถอนศาลเขตบางกอกน้อย

ประวัติศาสตร์
เขตบางกอกน้อยเดิมมีชื่อเรียกว่า อำเภออมรินทร์ เป็นอำเภอที่ 21 ใน 25 อำเภอชั้นในของพระนครตามประกาศกระทรวงนครบาลใน พ.ศ. 2458 จากนั้นใน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่ออำเภออมรินทร์เป็น อำเภอบางกอกน้อย (พร้อมกับเปลี่ยนชื่ออำเภอหงสารามเป็นอำเภอบางกอกใหญ่ เปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็นอำเภอบางยี่เรือ และเปลี่ยนชื่ออำเภอบุปผารามเป็นอำเภอคลองสาน) เนื่องจากชื่อเดิมยังไม่เหมาะสมกับตำบลที่ตั้งอันเป็นหลักฐานโบราณ ในขณะนั้นอำเภอบางกอกน้อยมีเขตปกครอง 8 ตำบล คือ ตำบลบางอ้อ ตำบลบางพลัด ตำบลบางบำหรุ ตำบลบางยี่ขัน ตำบลบางขุนนนท์ ตำบลบางขุนศรี ตำบลศิริราช และตำบลบ้านช่างหล่อต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีใน พ.ศ. 2514 และเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 ซึ่งได้เปลี่ยนคำว่าอำเภอเป็น "เขต" และตำบลเป็น "แขวง" ดังนั้น อำเภอบางกอกน้อยจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางกอกน้อย ใน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อย โดยแบ่งพื้นที่แขวงบางพลัด แขวงบางอ้อ แขวงบางยี่ขัน และแขวงบางบำหรุ ไปจัดตั้งเป็นเขตบางพลัด เพื่อให้หน่วยงานราชการดูแลปกครองพื้นที่ได้สะดวกขึ้นใน พ.ศ. 2534 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยโอนพื้นที่เขตบางพลัดเฉพาะฝั่งใต้ของถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้ากลับมาเป็นพื้นที่ของเขตบางกอกน้อย โดยพื้นที่ดังกล่าวได้รับการจัดตั้งเป็นแขวงอรุณอมรินทร์
 
สภาพทั่วไปและอาณาเขต
เขตบางกอกน้อย เดิมมีชื่อเรียกว่า “อำเภออมรินทร์” เป็นชื่อเรียกตามประกาศ กระทรวงนครบาล   ประกาศเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2458  ลงนามประกาศโดยมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาลใต้ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นอำเภอที่  21 ในจำนวน 25  อำเภอจากอำเภออมรินทร์ เป็นอำเภอ “บางกอกน้อย” 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า นามอำเภอบางแห่งยังไม่เหมาะแก่นามตำบลอันเป็นหลักฐานมาแต่โบราณจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯมีประกาศให้เปลี่ยนนามจากอำเภออมรินทร์  เรียกว่า อำเภอบางกอกน้อย โดยประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2459 แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล ต่อมาเมื่อปี 2515ได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ได้ยกเลิกหน่วยการปกครองเดิมคือ จังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล จังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี เป็นหน่วยการปกครองเดียวว่า “กรุงเทพมหานคร” และได้เปลี่ยนจากอำเภอบางกอกน้อย เป็น “เขตบางกอกน้อย”  ตั้งแต่วันที่  14 ธันวาคม 2515 เขตบางกอกน้อย ได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่อีกโดยกระทรวงมหาดไทย มีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อย  จากแขวงบางพลัดเป็น “บางพลัด” โดยตัดพื้นที่แขวงบางอ้อ แขวงบางพลัด แขวงบางบำหรุ และแขวงบางยี่ขัน ไปขึ้นกับเขตบางพลัดตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน  2532 พื้นที่เขตบางกอกน้อย เหลือ 4 แขวง คือ แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ  แขวงบางขุนนนท์  แขวงบางขุนศรี ต่อมาได้มีการตัดพื้นที่ของเขตบางพลัด แขวงบางยี่ขัน และแขวงบางบำหรุ บางส่วนเป็นพื้นที่เขตบางกอกน้อยและได้กำหนดพื้นที่ที่ตัดโอนมาใหม่ เป็นแขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย จึงมีพื้นที่การปกครองเป็น 5 แขวง คือ..
1. แขวงศิริราช
2. แขวงบ้านช่างหล่อ
3. แขวงบางขุนนนท์
4. แขวงบางขุนศรี
5. แขวงอรุณอมรินทร์
 
การคมนาคม
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ได้แก่
ถนนจรัญสนิทวงศ์
ถนนพรานนก
ถนนวังหลัง
ถนนอิสรภาพ
ถนนอรุณอมรินทร์
ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ถนนบรมราชชนนี
ถนนบางขุนนนท์
ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
ถนนสุทธาวาส
ถนนรถไฟ
ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้
ถนนรุ่งประชา
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 22 (ราษฎร์ศรัทธา) และซอยอิสรภาพ 37
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 28 / ซอยอิสรภาพ 39 (วัดดงมูลเหล็ก)
ซอยจรัญสนิทวงศ์ 35 (วัดมะลิ)
ซอยอิสรภาพ 44 (แสงศึกษา)
สะพาน
สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เชื่อมระหว่างเขตบางกอกน้อยกับเขตพระนคร
ทางน้ำ
แม่น้ำเจ้าพระยา
คลองบางกอกน้อย
คลองชักพระ
คลองมอญ

 
Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

83 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ