เขตบางขุนเทียน

อัพเดตเมื่อ : 2 May 2024 14:42
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
เขตบางขุนเทียน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การค้า และอุตสาหกรรม ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรมและมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย (เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) ยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู่ “ทะเลบางขุนเทียน” หรือ “บางขุนเทียนชายทะเล” แล้วเป็นนิยามสั้น ๆ ที่คนส่วนใหญ่นึกถึงย่าน ‘บางขุนเทียน’ และหลายคนอาจยังสับสนและสงสัยว่า บางขุนเทียน เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ หรือไม่ หรือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเพื่อนบ้านกรุงเทพฯ

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตบางขุนเทียนตั้งอยู่ทางใต้สุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
 
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตบางบอน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตจอมทอง เขตทุ่งครุ
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ และ ทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดสมุทรสาคร 
 
สภาพทั่วไปของเขตบางขุนเทียน
สำนักงานเขตบางขุนเทียนมีขนาดพื้นที่ 120.687 ตร.กม.
แบ่งการปกครองออกเป็น 2 แขวง
แขวงท่าข้าม
แขวงแสมดำ



ถอนศาลเขตบางขุนเทียน
ประวัติความเป็นมา
อำเภอบางขุนเทียน เดิมเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่อพยพมาจากจังหวัดสมุทรสงคราม ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4[2] เป็นอำเภอที่เก่าแก่ สันนิษฐานว่าก่อตั้งใน พ.ศ. 2410 เดิมขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี ซึ่งต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอ (บริเวณริมคลองด่าน คลองดาวคะนอง และคลองบางขุนเทียน) มีความเจริญและมีชุมชนเพิ่มขึ้น ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นใน พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และจัดตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดใน พ.ศ. 2508 ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางขุนเทียนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางขุนเทียน มีเขตการปกครอง 7 แขวง ได้แก่ แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด แขวงท่าข้าม แขวงบางบอน และแขวงแสมดำ ต่อมาในพื้นที่เขตมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงตั้งสำนักงานเขตบางขุนเทียน สาขา 1 ดูแลพื้นที่ 4 แขวง ซึ่งได้แยกออกไปเป็นเขตจอมทองใน พ.ศ. 2532 และเมื่อ พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย แยกแขวงบางบอนออกไปตั้งเป็นเขตบางบอน

ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางขุนเทียน ได้แก่
-ถนนกาญจนาภิเษก เริ่มต้นเข้าสู่ท้องที่เขตบางขุนเทียนจากทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่–มหาชัย แขวงแสมดำ ต่อเนื่องมาจากแขวงบางบอน เขตบางบอน และไปสิ้นสุดที่คลองบางมด ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงบางมด เขตทุ่งครุต่อไป
-ถนนพระรามที่ 2 เริ่มต้นเข้าสู่ท้องที่เขตบางขุนเทียนจากคลองวัดกก แขวงท่าข้าม ต่อเนื่องมาจากแขวงบางมด เขตจอมทอง และไปสิ้นสุดที่เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่ท้องที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาครต่อไป
-ถนนบางขุนเทียน ตัดผ่านพื้นที่ทางเหนือของเขต เข้าสู่ท้องที่เขตจากทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่–มหาชัย แขวงแสมดำ ต่อเนื่องมาจากแขวงบางบอน เขตบางบอน และไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 2
-ถนนบางขุนเทียนชายทะเล ตัดผ่านพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของเขต เริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ และไปสิ้นสุดที่ถนนเลียบคลองพิทยาลงกรณ์ซึ่งตัดออกสู่ท้องที่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
 
 
สถานที่สำคัญ
วัด
แขวงท่าข้าม
วัดกก
วัดท่าข้าม
วัดธรรมคุณาราม (หลวงพ่อเต่า)
วัดบัวผัน
วัดปทีปพลีผล
วัดประชาบำรุง (วัดลูกวัว)
วัดเลา
วัดหัวกระบือ
แขวงแสมดำ
วัดกำแพง
วัดแทนวันดีเจริญสุข
วัดแทนวันดีสุขาราม
วัดบางกระดี่
วัดพรหมรังสี
วัดสะแกงาม
วัดสุธรรมวดี
วัดแสมดำ
 
สถานที่ท่องเที่ยว
วัดเลา
คลองบางมด
จุดชมลิง
ชายทะเลบางขุนเทียน
ชุมชนแสนตอ
ป่าชายเลน
พระตำหนักพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตบางขุนเทียน (โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์)
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
พิพิธภัณฑ์แสดงว่าวไทย
วัดกก
 


Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ