เขตบางพลัด

อัพเดตเมื่อ : 27 Apr 2024 06:29
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
เขตบางพลัด เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เดิมถือเป็นพื้นที่รอบนอก แต่ปัจจุบันมีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้าและแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน
 
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้



ทิศเหนือ
 ติดต่อกับอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) มีทางรถไฟสายใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางซื่อ เขตดุสิต และเขตพระนคร มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกอกน้อย มีถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนนบรมราชชนนีเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
 
ที่มาของชื่อเขต
มีข้อสันนิษฐานว่าชื่อ "บางพลัด" หมายถึง การพลัดหลงหรือหลงถิ่น เชื่อว่ามาจากเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 เมื่อผู้คนอพยพหนีลงมาสู่ที่นี่ได้พลัดหลงหรือหลงหายกัน เนื่องจากมีลำคลอง ลำประโดง และมีสวนแน่นขนัด ทำให้ผู้ที่เข้ามาในละแวกนี้มักจะเกิดการพลัดหลงเข้าออกไม่ถูกอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งนามเช่นนี้มีความหมายในเชิงไม่เป็นมงคลในความเชื่อ จึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนเป็น "บางภัทร์" ใน พ.ศ. 2545 แต่ที่สุดก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแต่อย่างใด


ประวัติความเป็นมา
เดิมเขตบางพลัดมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในอำเภอหนึ่งของพระนคร มีชื่อว่า อำเภอบางพลัด ต่อมาถูกลดฐานะเป็น ตำบลบางพลัด ขึ้นอยู่กับอำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 ตำบลบางพลัดจึงเปลี่ยนฐานะเป็น แขวงบางพลัด ขึ้นกับเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดตั้งที่ทำการแขวงบางพลัดโดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบางพลัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 79 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อยในขนะนั้น
 
การคมนาคม
ทางสายหลัก
ถนนจรัญสนิทวงศ์ เชื่อมระหว่างทางแยกบรมราชชนนีกับสะพานพระราม 7
ถนนสิรินธร เชื่อมระหว่างทางแยกต่างระดับสิรินธรกับสี่แยกบางพลัด
ถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างทางแยกบางพลัดกับสะพานกรุงธน
ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า (ทางขนานขาเข้า)
ถนนอรุณอมรินทร์ เชื่อมระหว่างทางแยกอรุณอมรินทร์กับสะพานพระราม 8
ทางพิเศษศรีรัช เชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษก
รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน – สถานีบางบำหรุ
 
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
สะพานพระราม 7 เชื่อมเขตบางพลัดและอำเภอบางกรวยเข้ากับเขตบางซื่อ
สะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟเชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตบางซื่อ
สะพานกรุงธน เชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตดุสิต
สะพานพระราม 8 เชื่อมระหว่างเขตบางพลัดกับเขตพระนคร


ถอนศาลเขตบางพลัด
 
สถานที่สำคัญ
สะพานพระราม 8 และสวนหลวงพระราม 8
สะพานกรุงธน
บ้านบางยี่ขัน
แขวงทางหลวงธนบุรี
หมวดทางหลวงตลิ่งชัน
ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, คณะพยาบาลศาสตร์, โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
 

วัด
เขตบางพลัดมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก จึงมีการสร้างวัดเป็นจำนวนไม่น้อย แบ่งเป็นวัด 23 วัด
วัดวิมุตยาราม
วัดใหม่เทพนิมิตร
วัดจตุรมิตรประดิษฐาราม
วัดเปาโรหิตย์
วัดน้อยนางหงษ์
วัดบางพลัด (วัดบางพลัดใน)
วัดอมรคีรี
วัดสิงห์
วัดพระยาศิริไอยสวรรค์
วัดรวกบางบำหรุ
วัดภาณุรังษี
วัดคฤหบดี
วัดเทพนารี
วัดทอง
วัดฉัตรแก้วจงกลณี
วัดดาวดึงษาราม
วัดเทพากร
วัดบางยี่ขัน
วัดเพลง
วัดภคินีนาถวรวิหาร
วัดบวรมงคล (วัดลิงขบ)
วัดอาวุธวิกสิตาราม (วัดบางพลัดนอกหรือวัดปากคลองบางพลัด)
วัดสามัคคีสุทธาวาส

มัสยิด
มัสยิดบางอ้อ
มัสยิดดารุลอิหซาน

ศาลเจ้า
ศาลเจ้าปุงเท่ากง
ศาลเจ้าพ่อเสือ


 
Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

78 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ