เขตบางรัก

อัพเดตเมื่อ : 2 May 2024 19:21
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
เขตบางรัก เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตในฝั่งพระนครของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตปทุมวันทางทิศเหนือและตะวันออก เขตสาทรทางทิศใต้ และติดต่อกับเขตสัมพันธวงศ์และเขตคลองสาน (ตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ทางตะวันตก เขตบางรักเป็นบริเวณหนึ่งที่ชาวยุโรปเข้ามาตั้งรกรากเป็นบริเวณแรก ๆ ในกรุงเทพมหานคร เช่น คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งตั้งสวนท่านเป็นโบสถ์โรมันคาทอลิก (ปัจจุบันคือ อาสนวิหารอัสสัมชัญ) 



ถอนศาลเขตบางรัก
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตบางรักมีพื้นที่ทั้งหมด 5.54 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตปทุมวัน มีถนนพระรามที่ 4 ฟากใต้ เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสาทร มีคลองสาทรเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเขตสัมพันธวงศ์ มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
 
ที่มาของชื่อเขตบางรักมีการสันนิษฐานอยู่หลายทฤษฎี ได้แก่
สันนิษฐานว่าบริเวณเขตบางรักนี้ในอดีตมีคลองเล็ก ๆ สายหนึ่งที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีซุงของต้นรักขนาดใหญ่ในคลองนั้น จึงเรียกชื่อบริเวณนี้ตามชื่อไม้ว่า "บางรัก" ส่วนบริเวณที่เคยเป็นคอลงที่มีซุงนั้น เชื่อว่าเป็นบริเวณตรอกซุงในปัจจุบัน
 

ประวัติ
อำเภอบางรักก่อตั้งขึ้นเป็นทางการในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2450 โดยการรวมพื้นที่อำเภอชั้นในของพระนคร 4 อำเภอตามประกาศกระทรวงนครบาล นับเป็น 1 ใน 8 อำเภอของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น ต่อมาใน พ.ศ. 2515 หลังการประกาศของคณะปฏิวัติให้จัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอบางรักจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ก็เปลี่ยนสถานะฐานะเป็นแขวงแทน
 
 
การคมนาคม
ระบบถนน
ถนนสายหลัก ได้แก่
ถนนพระรามที่ 4
ถนนสีลม
ถนนสาทรเหนือ
ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
ถนนเจริญกรุง
ทางพิเศษศรีรัช
และถนนสายรอง เช่น
ถนนสี่พระยา
ถนนสุรวงศ์
ถนนนเรศ
ถนนทรัพย์
ถนนมหาเศรษฐ์
ถนนมเหสักข์

ระบบขนส่งมวลชน
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ประกอบด้วยสถานีช่องนนทรี, สถานีสุรศักดิ์, สถานีศาลาแดง และสถานีสะพานตากสิน
รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ประกอบด้วยสถานีสาทร
รถไฟฟ้ามหานคร ประกอบด้วยสถานีสีลม
เรือด่วนเจ้าพระยา ประกอบด้วยท่าสาทร, ท่าโอเรียนเต็ล และท่าวัดม่วงแค



Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

91 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ