เขตราษฎร์บูรณะ

อัพเดตเมื่อ : 8 May 2024 02:49
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
เขตราชเทวี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
 
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตราชเทวีตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้


ทิศเหนือ
 ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตดินแดง มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีถนนอโศก-ดินแดงเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตวัฒนาและเขตปทุมวัน มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตดุสิต มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
 
ที่มาของชื่อเขต
ชื่อเขตตั้งตามทางแยกราชเทวีซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนเพชรบุรี โดยมาจากชื่อสะพานพระราชเทวีซึ่งข้ามคลองประแจจีน (ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว) บนถนนพญาไท ก่อนเข้าถนนเพชรบุรี ส่วนชื่อสะพาน "พระราชเทวี" ตั้งตามพระนามของพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระยศในขณะนั้น; พระยศต่อมาคือ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี)


ถอนศาลเขตราษฎร์บูรณะ

ประวัติศาสตร์
พื้นที่เขตราชเทวีเดิมมีฐานะเป็นตำบล 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลมักกะสัน ซึ่งเกิดจากการยุบรวมตำบลเล็ก ๆ เข้าด้วยกัน และไปขึ้นกับอำเภอดุสิต และต่อมาใน พ.ศ. 2509 จึงได้ย้ายมาขึ้นกับอำเภอพญาไท

 
เหตุการณ์สำคัญ
เหตุการณ์แก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พ.ศ. 2533 เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2533 มีผู้เสียชีวิต 89 ราย
 
ระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะสั่งปิดล้อมพื้นที่โดยรอบแยกราชประสงค์ ถนนราชปรารภก็กลายเป็นสมรภูมิ ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 19 พฤษภาคม 2553 มีประชาชนถูกยิงเสียชีวิตรวม 23 คนตั้งแต่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมาจนถึงสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ราชปรารภ ซึ่งในจำนวนนี้มีหลายคนที่มีพยานหลักฐานและคำสั่งศาลยืนยันว่าเป็นฝีมือของทหารที่ประจำการในบริเวณนั้น[2] และในวันที่ 19 พฤษภาคมซึ่งมีการสลายการชุมนุมก็มีการเผาทำลายอาคารบริเวณย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเสียหาย
 
 
การคมนาคม
ถนนสายสำคัญของเขตราชเทวี ได้แก่
ถนนพระรามที่ 6 ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหานาคถึงสะพานข้ามคลองสามเสน
ถนนบรรทัดทอง ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหานาคถึงทางแยกเพชรพระราม
ถนนพญาไท ตั้งแต่สะพานหัวช้างถึงสะพานข้ามคลองสามเสน (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงทางแยกอโศก–เพชรบุรี
ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงทางแยกมักกะสัน
ถนนราชวิถี ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง
ถนนราชดำริ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกประตูน้ำ
ถนนราชปรารภ ตั้งแต่ทางแยกประตูน้ำถึงทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง
ถนนชิดลม ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงทางแยกชิดลม–เพชรบุรี
ถนนวิทยุ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงทางแยกวิทยุ–เพชรบุรี
ถนนอโศกมนตรี ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงทางแยกอโศก–เพชรบุรี
ถนนอโศก-ดินแดง ตั้งแต่ทางแยกอโศก–เพชรบุรีถึงสะพานข้ามคลองสามเสน
ถนนจตุรทิศ
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ทางพิเศษศรีรัช
 
สถานที่สำคัญ
พระราชวังพญาไท ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เขตพญาไท หรืออำเภอพญาไทเดิม ก่อนหน้าที่จะมีการปรับปรุงอาณาเขตของเขตพญาไทใหม่ จนทำให้พื้นที่พระราชวังพญาไทกลายมาเป็นอยู่ในเขตราชเทวี และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และเจ้าหน้าที่พลเรือนที่มีส่วนร่วมต่อสู้เพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศในยามสงคราม ตั้งอยู่ ณ บริเวณที่เคยเป็นสี่แยกระหว่างถนนราชวิถีกับถนนพหลโยธิน ซึ่งในอดีตเรียกว่า สี่แยกสนามเป้า
วังสวนผักกาด บนถนนศรีอยุธยา
อาคารใบหยก 1 อาคารใบหยก 2 ซึ่งเคยเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย ทั้งสองอาคารอยู่ในบริเวณย่านประตูน้ำ
ชุมชนชาวไทยมุสลิมเชื้อสายจามที่บ้านครัว
 


 
Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ