อำเภอพระประแดง

อัพเดตเมื่อ : 29 Apr 2024 09:03
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
อำเภอพระประแดง เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ ในอดีตมีฐานะเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระประแดง แต่ต่อมาถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการดังเช่นปัจจุบัน


ที่มาของชื่อ
คำว่า "พระประแดง" บ้างว่ามาจากคำว่า "ประแดง" หรือ "บาแดง" แปลว่า คนเดินหมายหรือ คนนำข่าวสาร แต่เดิมเมืองพระประแดงเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น จะต้องแจ้งข่าวสารไปให้เมืองหลวง (ละโว้) ทราบโดยเร็ว
 
ประวัติศาสตร์
พระประแดงเดิมตรงคลองเตย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ วินิจฉัยว่า พระประแดงเป็นเมืองโบราณสมัยขอมมีชื่อเรียกว่า "พระประแดง" แต่ประเด็นนี้ก็พิสูจน์ได้ยากตำแหน่งที่ตั้งเมืองพระประแดงเดิม ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานคร เหตุผลที่สนับสนุนที่ตั้งเดิมนี้ คือ มีปรากฏในจดหมายเหตุเอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ ได้ลงตำแหน่งเมืองพระประแดง (Prapedain) อยู่บริเวณคุ้งแม่น้ำตรงบริเวณคลองเตยในปัจจุบัน และในโคลงนิราศชุมพรแต่งโดยพระพิพิธสาลี ซึ่งเชื่อว่าท่านมีอายุอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 1 เมื่อท่านได้ล่องเรือผ่านช่องนนทรี จากนั้นถึงบางเตยซึ่งก็คือตำแหน่งคลองเตยในปัจจุบัน แล้วจึงกล่าวถึงศาลพระแผดง (ศาลพระประแดง) แล้วจึงเป็นพระโขนง

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด

ถอนศาลอำเภอพระประแดง


ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตพระโขนง และเขตบางนา (กรุงเทพมหานคร) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ มี คลองบางฝ้าย คลองขุด คลองบางนางเกรงและถนนทางรถไฟเก่า (สายปากน้ำ) เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ คลองขุด คลองบางฝ้าย กึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คลองท่าเกวียน และคลองบางจาก เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตทุ่งครุและเขตราษฎร์บูรณะ (กรุงเทพมหานคร) คลองรางใหญ่ คลองขุดเจ้าเมือง ลำรางสาธารณะ คลองบางพึ่ง คลองแจงร้อน เป็นเส้นแบ่งเขต
 
 
สถานที่ท่องเที่ยว
ป้อมแผลงไฟฟ้า
ตลาดบางน้ำผึ้ง
สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ (สวนบางกระเจ้า)
 
ประเพณี
ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ
ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ กำเนิดขึ้นใน จ.สมุทรปราการ ชาวพระประแดง (มอญปาก-ลัด) ปกติมักมีขึ้นในช่วงเวลา วันที่ 13 เมษายนของทุกปี หรือวันสงกรานต์ ความเป็นมาหรือสาระสำคัญของประเพณีไทยแห่หงส์ ธงตะขาบ ก็เพื่อเป็นการระลึกถึง และเป็นการบูชา รวมไปถึงการเฉลิมฉลองให้กับครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงจากชั้นภพดาวดึงส์ เป็นการถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนปัจจุบันนี้ โดยการร่วมงานเฉลิมฉลองประเพณีไทยนี้ ผู้คนต่าง ๆ มักจะนำเสาหงส์ และ ธงตะขาบ มาใช้คู่กัน



Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ