เจริญกรุง

อัพเดตเมื่อ : 6 May 2024 13:31
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
ถนนเจริญกรุง ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน และหลังจากตัดกับถนนพระรามที่ 3 แล้ว ถนนเจริญกรุงจะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าถนนตก จนไปสิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวงเขตยานนาวา โดยเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงสะพานเหล็กบนไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี




ประวัติ
สร้างถนน
ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404[1] แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 19,700 บาท การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ”

ถอนศาลเจริญกรุง



ตั้งถิ่นฐาน
 
ถนนเจริญกรุง ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2460 เห็นห้างฮุนซุ่ยฮง ใกล้วัดม่วงแค
 
ถนนเจริญกรุง ตัดถนนสีลมที่แยกบางรัก
ตั้งแต่สะพานมอญ (คลองคูเมือง) จนถึงสะพานดำรงสถิตย์ (คลองรอบกรุง) ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นที่ดินของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานพระโอรสและพระธิดาเพื่อเช่าการค้าและพักอาศัย ประชาชนมักเป็นคนไทยและคนจีน ชุมชนบริเวณสะพานมอญเป็นชาวมอญเก่าครั้งกรุงศรีอยุธยา บริเวณสี่กั๊กพระยาศรีในอดีตมีพวกมอญตั้งถิ่นฐานอยู่ริมสองฝั่งคลอง ช่วงสะพานเหล็กหรือสะพานดำรงสถิตย์จนถึงสะพานพิทยเสถียรเป็นชุมชนชาวจีน ที่ดินบางส่วนในช่วงนั้นเป็นของขุนนางซึ่งสร้างตึกแถวให้เช่า ผู้มาเช่ามีตั้งแต่ขุนนางจีนไปจนถึงกรรมกรจีน แต่มีบางส่วนทำเป็นห้างฝรั่งและพ่อค้าแขก ส่วนบริเวณบางรัก ริมถนนเจริญกรุงนอก ส่วนใหญ่เป็นแขกอินเดียและแขกมลายูในบังคับอินเดีย แขกลังกาในบังคับฝรั่งเศส และแขกยะวาในบังคับฮอลันดา



 
Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

80 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ