เสรีไทย

อัพเดตเมื่อ : 5 May 2024 14:38
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
เสรีไทย
ประวัติความเป็นมาของย่าน
ย่าน ‘เสรีไทย’ ถือเป็นย่านชุมชนเกิดใหม่ ที่ต่อเนื่องมาจากย่านบางกะปิ และเติบโตตามการเกิดขึ้นของถนนเสรีไทย ที่เริ่มตั้งแต่เขตบางกะปิ ผ่านเขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว ไปสิ้นสุดที่เขตมีนบุรี โดยถนนสายนี้มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้น ที่แยกบางกะปิ ปลายถนนลาดพร้าว ในเขตบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนนวมินทร์ และถนนพ่วงศิริโดยมีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนศรีบูรพาที่แยกนิด้า ผ่านเขตบึงกุ่ม ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) ถนนสวนสยาม และตัดกับถนนมีนพัฒนาที่แยกบางชัน ไปสิ้นสุดที่แยกเมืองมีน ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนรามอินทรา ถนนสุวินทวงศ์ และถนนสีหบุรานุกิจในเขตมีนบุรี  


เสรีไทยในปัจจุบัน
ปัจจุบันย่านเสรีไทย นับเป็นย่านอยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง เป็นโซนที่อยู่อาศัยที่เงียบสงบ โดยการที่ย่านนี้ เชื่อมต่อกับถนนหลายสำคัญหลายสาย และชุมชนดั้งเดิมหลายแห่ง ทำให้ย่านเสรีไทยเกิดหมู่บ้านจัดสรร ที่รองรับครอบครัวขยายตัวมาจากชุมชนดั้งเดิม จากทั้งลาดพร้าว รามคำแหง หลายโครงการหมู่บ้านจัดสรรเกิดใหม่ จึงเป็นบ้านระดับกลางบน ทาวน์โฮมมีระดับราคาเริ่มต้น 3 – 4 ล้านบาท ส่วนบ้านเดี่ยวระดับราคาเริ่มต้น 5 – 8 ล้านบาท
ขณะที่ตลาดคอนโดมิเนียม ระดับราคาล้านต้น ๆ ที่เกิดขึ้นในย่านเสรีไทยตอนต้น ใกล้กับฝั่งแยกบางกะปิ เน้นรองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ คนเพิ่งเริ่มต้นทำงานที่ต้องการแยกครอบครัว หรือ กลุ่มคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ และคุ้นเคยย่านเสรีไทย ลาดพร้าว รามคำแหง หรือเน้นจับกลุ่มคนที่ต้องการหาที่ทำงานใกล้แหล่งงาน


ถอนศาลเสรีไทย
อนาคตของเสรีไทย
โครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี) รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย – มีนบุรี) รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว – สำโรง) แม้จะไม่ได้ผ่านย่านเสรีไทยโดยตรง แต่การที่ถนนเสรีไทย เชื่อมต่อกับถนนสายสำคัญหลายสาย ทำให้การเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ไม่ยากนักในอนาคตปลายทาง สถานีรถไฟฟ้าต่าง ๆ จะเป็น Node ในการเชื่อมต่อสำคัญ ซึ่งคนที่อาศัยอยู่ใน ย่านเสรีไทย สามารถเชื่อมต่อ Node เหล่านี้ได้สะดวก ย่านเสรีไทย จึงมีแนวโน้มจะเป็นย่านที่อยู่อาศัยทางเลือกของคนที่ต้องการที่อยู่อาศัยแนวราบที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าได้สะดวก แต่อาจมีผลให้ราคาที่อยู่อาศัยย่านนี้ขยับสูงขึ้น แต่ยังไม่สูงเท่าเมื่อเทียบกับเส้นที่มีรถไฟฟ้าผ่าน

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

73 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ