จรัญสนิทวงศ์

อัพเดตเมื่อ : 4 May 2024 03:04
หน่วยงาน : ศูนย์รวมธุรกิจ
จรัญสนิทวงศ์
ฝั่งถนนธนบุรี มีจุดเริ่มต้นนับจากถนนเพชรเกษม แยกท่าพระ ตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพาณิชยการธนบุรี (จรัญสนิทวงศ์ 13) ที่สามแยกพาณิชยการธนบุรี จากนั้นข้ามคลองมอญ ตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนพรานนกที่แยกไฟฉาย จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับทางรถไฟสายใต้ (จากสถานีรถไฟธนบุรี) เข้าแขวงบางขุนนนท์ ตัดกับถนนบางขุนนนท์ที่แยกบางขุนนนท์ จากนั้นข้ามคลองบางกอกน้อยเข้าสู่แขวงอรุณอมรินทร์ ตัดกับถนนบรมราชชนนีที่แยกบรมราชชนนีเข้าสู่พื้นที่ย่านบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางบำหรุกับแขวงบางยี่ขันไปจนตัดกับถนนสิรินธรและถนนราชวิถีที่แยกบางพลัด จากนั้นจึงเข้าสู่แขวงบางพลัด มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางพลัดเข้าสู่ย่านบางอ้อ และสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระราม 7 


ประวัติความเป็นมา
จรัญสนิทวงศ์ เป็นอีกหนึ่งย่านที่มีชุมชนเก่าแก่อยู่อาศัยมานาน โดยเฉพาะพื้นที่ที่ใกล้ริมคลองต่าง ๆ ของย่านนี้ เช่น คลองบางกอกใหญ่ คลองบางกอกน้อย ฯลฯ รวมถึง พื้นที่ใกล้สถานีรถไฟธนบุรี หรือเดิมเรียกว่า สถานีรถไฟบางกอกน้อย ซึ่งเป็นสถานีรถไฟที่มีความสำคัญในฐานะเป็นสถานีต้นทางของรถไฟสายใต้ และสายตะวันตก เป็นสถานีที่ก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และจัดเป็นสถานีที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังใกล้กับโรงพยาบาลศิริราชด้วยแต่เดิมถนนเส้นนี้ใช้ชื่อ “จรัลสนิทวงศ์” มาก่อน โดยตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของ จรัล (จะ-รัน) แปลว่า เดิน แต่ชื่อถนนที่ถูกต้องคือ จรัญสนิทวงศ์ ซึ่งตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงจรัญสนิทวงศ์ (ม.ล.จรัญ สนิทวงศ์) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ก่อนที่กรุงเทพมหานคร จะได้แก้ไขเป็น “จรัญสนิทวงศ์” ตามนามของหลวงจรัญสนิทวงศ์ในภายหลัง

ถอนศาลจรัญสนิทวงศ์
ย่านจรัญสนิทวงศ์ในปัจจุบัน
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการประมาณปี พ.ศ. 2563 (เปิดหลังรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ตลาดคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นบนถนนจรัญสนิทวงศ์ โดยปัจจุบันพื้นที่ตลอดแนวถนนจรัญสนิทวงศ์ที่ใกล้กับตัวสถานีรถไฟฟ้าเกิดตลาดคอนโดมิเนียมจำนวนมาก ซึ่งล้วนเป็นการกว้านซื้ออาคารพาณิชย์เก่า รื้อทิ้ง เพื่อสร้างเป็นคอนโดมิเนียม


อนาคตของย่านจรัญสนิทวงศ์
ไม่เพียงแต่ตลาดคอนโดมิเนียมที่เกิดขึ้นตลอดแนวถนนจรัญสนิทวงศ์ที่มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ พาดผ่าน แต่ยังเริ่มมีร้านค้าปลีกเฉพาะทาง เช่น โฮมโปรเกิดขึ้น เพราะมองเห็นแล้วว่า รูปแบบการอยู่อาศัยในอนาคตของย่านนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน โดยพื้นที่ติดริมถนนจรัญสนิทวงศ์ ติดสถานีรถไฟฟ้า จะกลายเป็นที่อยู่อาศัยแนวสูง และโครงการเชิงพาณิชย์ขนาดเล็ก ส่วนถนนรองตามซอยต่าง ๆ ยังคงเป็นตลาดของบ้านแนวราบ ซึ่งหากเป็นบ้านแนวราบที่เกิดขึ้นใหม่จะเป็นบ้านระดับไฮเอนด์ ระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป
 
 
Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

97 ครั้ง

ข่าวอื่นๆ