แนวข้อสอบ กลุ่มตำแหน่งนิติศาสตร์

อัพเดตเมื่อ : 27 Apr 2024 10:28
หน่วยงาน : บทความน่ารู้

แนวข้อสอบภาษาไทย 

แนวข้อสอบ การสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ

จงเลือกคำที่ถูกต้อง

  1. วันนี้อากาศเย็นจัด เพราะลมพัดแรง แต่อากาศไม่เย็น ฉะนั้น

ก. อากาศอบอุ่น                                                   ข.  อากาศร้อน

ค. ลมพัดไม่แรง                                                  ง.  ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

ตอบข้อ ค. ลมพัดไม่แรง  

                จากสมมุติฐานที่ว่า 1. วันนี้อากาศเย็นจัด

  1. เพราะลมพัดแรง

เมื่อสรุปว่าอากาศไม่เย็น แสดงว่าลมพัดไม่แรงเป็นลักษณะสมเหตุสมผลเป็นไปได้ที่โจทย์สรุปว่าอากาศไม่เย็น แสดงว่าอากาศไม่อบอุ่นและไม่ร้อน (อากาศไม่ร้อน) เพราะไม่มีในสมมุติฐาน เมื่อลมพัดแรงอากาศก็ต้องเย็นจัด

 

  1. ถ้าวันนี้ฝนตกฉันจะไม่ไปดูหนัง แต่ฝนไม่ตก ฉะนั้น

ก. ฉันจะอยู่บ้าน                                                  ข. ฉันจะไปดูหนัง  

ค. ฉันจะไม่ไปดูหนัง                                         ง. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

ตอบข้อ ง. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

                สมมุติฐานที่ว่า 1. วันนี้ฝนตกฉันจะไม่ไปดูหนัง  2. แต่ฝนไม่ตก

พิจารณาเหตุผลแต่ละข้อ ฉันจะอยู่บ้านในสมุติฐานไม่ระบุว่า ฉันจะอยู่บ้านหรือฉันไม่อยู่บ้านถ้าฝนไม่ตก มีแต่บอกว่าถ้าฝนตกจะไม่ไปดูหนัง แต่ไม่มีสมมุติฐานว่าถ้าฝนไม่ตก ฉันจะไปดูหนังหรือฉันจะไม่ไปดูหนัง

 

  1. ดำสูงกว่าแดง แต่แดงสูงกว่าเขียว ฉะนั้น

ก. ดำสูงกว่าแดง                                                  ข.  แดงเตี้ยกว่าดำ

ค. เขียวสูงกว่าดำ                                                 ง. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

ตอบข้อ ก. ดำสูงกว่าแดง

                จากสมมุติฐานที่ว่า 1. ดำสูงกว่าแดง  2. แต่แดงสูงกว่าเขียว

                                พิจารณาคำตอบ ในเมื่อดำสูงกว่าแดง แต่เขียวต่ำกว่าแดง เพราะแดงต่ำกว่าดำ

สรุปว่าดำสูงกว่าเขียว ดำสูงกว่าแดงอยู่แล้วและแดงก็สูงกว่าเขียว แสดงว่าเขียวเตี้ยที่สุด เตี้ยกว่าดำและแดง และที่สรุปว่า แดงเตี้ยกว่าดำ ก็ไม่ระบุในสมมุติฐานเช่นกัน คำตอบสุดท้าย คือ ดำสูงกว่าเขียวเป็นคำตอบที่ถูกต้อ

 

  1. คนนับถือศาสนาใดๆ เลย จะเป็นคนเถื่อน สุดานับถือศาสนาอิสลาม ฉะนั้น

ก. สุดาไม่ใช่คอมมิวนิสต์                                  ข.  สุดานิยมคอมมิวนิสต์

ค. สุดาเป็นคนเถื่อน                                           ง.  ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

ตอบข้อ ง.  ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

                จากสมมุติฐานที่ว่า 1. คนไม่นับถือศาสนาใดๆ เลยจะเป็นคนเถื่อน

  1. สุดานับถือศาสนาอิสลาม

พิจารณาคำตอบแต่ละข้อ สุดาไม่ใช่คอมมิวนิสต์ หรือสุดานิยมคอมมิวนิสต์ ไม่มีระบุในสมมุตติที่ว่าสุดาเป็นคนเถื่อนก็เป็นได้   ผู้ไม่นับถือศาสนาจึงเป็นคนเถื่อนและที่ว่าสุดาไม่ใช้คนเถื่อนก็ไม่ระบุในสมมุติฐานว่าผู้นับถือศาสนาจะไม่ใช่คนเถื่อน สรุปข้อนี้ต้องตอบข้อ ง .  คือสรุปแน่นอนไม่ได้

 

  1. คนจีนในเมืองไทยหลายคนร่ำรวย คนร่ำรวยเป็นคนใจบุญ ฉะนั้น

ก. คนร่ำรวยบางคนเป็นคนจีน                         ข. คนจีนบางคนใจบุญ ฉะนั้น  

ค. คนร่ำรวยบางคนใจบุญ                 ง. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

ตอบข้อ ก. คนร่ำรวยบางคนเป็นคนจีน

                จากสมมุติฐานที่ว่า  1. คนจีนในเมืองไทยหลายคนร่ำรวย

  1. คนร่ำรวยเป็นคนใจบุญ

แสดงว่าคนจีนบางคนก็ไม่ร่ำรวย ที่ว่าคนร่ำรวยเป็นคนใจบุญ และยังมีคนร่ำรวย บางคนเป็นคนจีน ฉะนั้น สรุปได้ว่าคนจีนที่ร่ำรวยบางคนเป็นคนจีน ซึ่งตรงสมมุติฐานที่ว่าคนจีนในเมืองไทยหลายคนร่ำรวย แต่ไม่ระบุว่าต้องเป็นคนใจบุญทุกคน

 

  1. สัตว์เลือดอุ่นเท่านั้นที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ช้างไม่ใช่สัตว์เลือดอุ่น ฉะนั้น

ก. ช้างเป็นสัตว์บกที่โตที่สุด                                             ข.  ช้างเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ค. ช้างไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม                                        ง.  ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

ตอบข้อ ง.  ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

                จากสมมุติฐานที่ว่า  1. สัตว์เลือดอุ่นเท่านั้นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

  1. ช้างไม่ใช่สัตว์เลือดอุ่นแต่ในสมมุติฐานไม่ระบุว่าช้างเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม หรือช้างไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและไม่ได้บอกว่าช้างเป็นสัตว์บกที่โตที่สุด และไม่ได้บอกว่าช้างฉลาดกว่าวัวและสมมุติฐานบอกชัดเจนว่า สัตว์เลือดอุ่นเท่านั้น จึงไม่ได้หมายถึงสัตว์เลือดไม่อุ่น สรุปคำตอบข้อ ง. ยังสรุปแน่นอนไม่ได

 

 

 

ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว

 

 

 แนวข้อสอบมีให้เลือกทั้งหมด 2 รูปแบบ
- แบบที่ 1 แบบปริ้นอ่านได้เลย ราคาเพียง 399 บาท (ได้รับเนื้อหาภายในวันโอน 1-3 ชั่วมง)
- แบบที่ 2 แบบหนังสือ+MP3 ราคา 699 บาท  (ได้รับ 1-3 วันทำการ ส่งฟรี J&T)


สรุปสาระสำคัญของประชาคมอาเซียน

  • ประชาคมอาเซียน (ASEAN: Association of South East Asian Nations)
  • ที่มาและความสำคัญของประชาคมอาเซียน
  • เดิมการจัดตั้งกลุ่มประเทศอาเซียน ในครั้งแรก มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดความ

ร่วมมือเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและสังคม เพราะแต่ละประเทศมีแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน

อย่างมาก

  • การจัดตั้งขึ้นในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการ

ต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก ๕ ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย

ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ ๘ มกราคม

๒๕๒๗ เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ ๒๓

กรกฎาคม ๒๕๔๐ และกัมพูชาเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๒ ปัจจุบัน ประชาคมอาเซียน จึงมี

ประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ (๒๕๑๐)

บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา

  • มีประชากรรวมกันทั้งหมด 580 ล้านคน
  • ASEAN+3 หมายถึง ประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียน ร่วมกับประเทศจีน ญี่ปุ่น

และเกาหลี

  • ASEAN+6 ได้แก่ กลุ่มประเทศ ASEAN+3 และเพิ่มประเทศอินเดียออสเตรเลีย และ

นิวซีแลนด์ โดยมีการรวมตัวกันเพื่อเจรจาต่อรอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเจรจาทางการค้า โดยเกี่ยวข้องกับการยกเว้น ยกเลิก หรือลดภาษีระหว่างกลุ่มประเทศคู่ค้า

  • ประชาคมอาเซียน มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา

อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

  • คำขวัญ ของ ASEAN คือ One Vision, One Identity, One Community (หนึง่วิสัยทัศน์ หนึ่ง

เอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)

แนวข้อสอบวิธีพิจารณาความแพ่ง

  1. ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรือท่าอากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักรให้ศาลใดเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ

                ก. ศาลที่เป็นภูมิลำเนาของผู้เสียหายในกรณีที่ผู้เสียหายมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาราจักร

                ข. ศาลทหาร

                ค. ศาลแพ่ง

                ง. ศาลที่เป็นภูมิลำเนาของผู้ต้องหาในกรณีที่ผู้ต้องหามีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร

คำตอบ :  ข้อ ค.  ป.วิ.พ.  มาตรา 3 (1) กำหนดให้ “เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง

  1. กรณีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่ในราชอาราจักรให้ศาลแพ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ ......”
  2. ข้อใดไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์

                ก. ฟ้องบังคับให้โอนที่ดิน

                ข. ฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเก็บกิน

                ค. คำฟ้องเกี่ยวกับสิทธิยึดหน่วงโฉนด

                ง. ฟ้องขับไล่ออกจากบ้านพิพาท

คำตอบ :  ข้อ ค. เพราะคำฟ้องเกี่ยวกับสิทธิยึดหน่วงโฉนด ไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (คำพิพากษาฎีกาที่  1428-1429/2514)

  1. คำฟ้องในคดีซึ่งจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาราจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้ฟ้องคดีต่อศาลต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด

                ก. ศาลแพ่ง

                ข. ศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนา

                ค. ศาลที่จำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับได้ในราชอาณาจักรอยู่ในเขต

                ง.  ศาลที่โจทก์มีทรัพย์สินอยู่ในภูมิลำเนาอยู่ในเขต

คำตอบ :  ข้อ ง. เพราะ ป.วิ.พ. มาตรา 4 ตรี  กำหนดว่า “ คำฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิ ซึ่งจำเลยมิได้ภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาราจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาราจักร ให้เสนอต่อศาลแพ่งหรือศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

                คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้ ”

  1. ในคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกเรื่องหนึ่ง ข้อเท็จจริงมีว่าผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและถึงแก่ความตายที่จังหวัดพิจิตร แต่ผู้ตายอยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ร้องนานถึง 20 ปี ที่จังหวัดสมุทรปราการและได้ซื้อที่ดินไว้ที่จังหวัดสมุทรปราการด้วย ดังนี้ถ้าผู้ร้องจะร้องของจัดการมรดก ต้องร้องต่อศาลใดจึงจะเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ

                ก. ศาลจังหวัดพิจิตร

                ข. ศาลจังหวัดสมุทรปราการ

                ค. ศาลแพ่ง

                ง. ข้อ ก และ ข ถูก

คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะแม้ผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและถึงแก่ความตายที่จังหวัดพิจิตร แต่ผู้ตายอยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ร้องนานถึง 20 ปี ที่จังหวัดสมุทรปราการและได้ซื้อที่ดินไว้ที่จังหวัดสมุทรปราการด้วย แสดงว่าผู้ตายมีบ้านอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแหล่งหนึ่งด้วย ดังนั้น นอกจากบ้านที่จังหวัดพิจิตรแล้วก็ยังถือได้ว่าบ้านที่จังหวัดสุมทรปราการเป็นภูมิลำเนาเป็นภูมิลำเนาของผู้ตายอีกแห่งหนึ่งด้วย เพราะในคดีร้องขอจัดการมรดกนั้นอาจจะมีศาลที่จะยื่นคำร้องขอได้หลายศาล ( คำพิพากษาฎีกาที่  5912/2539)

  1. ต่อไปนี้ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะคดีที่เป็นคดีเดียวแต่อยู่ในเขตอำนาจศาลหลายศาลได้

                ก. คดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นหลายท้องที่ที่อยุ่ในเขตศาลต่างกัน

                ข. คดีที่มีหลายข้อหา

                ค. คดีตั้งอยู่ในเขตศาลหลายศาล

                ง. ไม่มีข้อถูก

คำตอบ :  ข้อ  ง. เพราะคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลหลายศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5 ได้แก่

  1. คดีฟ้องจำเลยร่วมกันหลายคนที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน แต่ละคนมีภูมิลำเต่างกัน
  2. คดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นหลายท้องที่ที่อยู่ในเขตศาลต่างกัน
  3. คดีที่มีหลายข้อหา
  4. คดีตั้งอยู่ในเขตศาลหลายศาล

ในคดีที่มีหลายศาลมีอำนาจเหนือคดีนั้น  โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทุกคนต่อศาลหนึ่งศาลใดก็ได้หรือฟ้องจำเลยแต่ละคนในแต่ละเขตศาลก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติไม่มี เพราะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีโดยใช่เหตุ การยื่นฟ้องต่อศาลใดที่มีเขตอำนาจนั้นเป็นสิทธิ์ของโจทก์ จึงไม่ต้องขออนุญาตศาล และศาลที่โจทก์เสนอคำฟ้องนั้นจะเกี่ยงไปให้ฟ้องยังอีกศาลหนึ่งไม่ได้เพราะเป็นหน้าที่

 

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ