แนวข้อสอบตำรวจสายพิสูจน์หลักฐาน สาขาฟิสิกส์

อัพเดตเมื่อ : 29 Apr 2024 18:53
หน่วยงาน : บทความน่ารู้

แนวข้อสอบวิชาฟิสิกส์

จงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง

  1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้ทำให้การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นการตกแบบเสรี

       กำหนดให้ การเคลื่อนที่ทุกข้อ ไม่คิดแรงต้านอากาศ

  1. โยนก้อนหินขึ้นไปในแนวดิ่ง
  2. ปล่อยลูกกอล์ฟจากยอดตึกให้ตกลงมาในแนวดิ่ง
  3. ยิงลูกปืนจากยอหน้าผาออกไปในแนวระดับ
  4. ผูกถุงทรายเข้ากับสปริงในแนวดิ่งซึ่งตรึงไว้กับเพดาน ดันถุงทรายขึ้นแล้วปล่อย

เฉลยข้อ 4

แนวคิด             การเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นการตกอย่างเสรี และไม่คิดแรงต้านอากาศแรงที่เกิดกับวัตถุจะ

มีเพียงแรงดึงดูดระหว่างมวลของโลกกับวัตถุ (ซึ่งก็คือน้ำหนัก Weight) ในทิศพุ่งลงสู่พื้นโลกและวัตถุจะเคลื่อนที่โดยมีความเร่งเท่ากับความเร่งจากสนามโน้มถ่วง (g) ในทิศพุ่งลงสู่พื้นโลกซึ่งสามารถพิสูจน์จากสมการกฏการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน

                               

       ตัวเลือกที่ 1               การโยนก้อนหินขึ้นไปในแนวดิ่งหลังจากก้อนหินหลุดจากมือไปแล้วแรงที่กระทำต่อ

               

  1. วัตถุ A มีมวล 10 กิโลกรัม วางอยู่นิ่งบนพื้น ส่วนวัตถุ B ซึ่งมีมวลเท่ากันกำลังตกลงสู่พื้นโลกถ้าไม่

     คิดแรงต้านอากาศ และกำหนดให้ทั้ง A และ B อยู่ในบริเวณที่ขนาดสนามโน้มถ่วงของโลกเท่ากับ 9.8

     นิวตัน /กิโลกรัม ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง

  1. วัตถุทังสองมีน้ำหนักเท่ากัน
  2. วัตถุทังสองมีอัตราเร่งในแนวดิ่งเท่ากัน คือ 8 เมตร/วินาที2
  3. แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุ A มีขนาดเทากับ 98 นิวตัน
  4. แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุ B มีขนาดเท่ากับ 98 นิวตัน

เฉลยข้อ 2

แนวคิด          พิจารณาวัตถุ A (วางนิ่งบนพื้น)

ตัวเลือกที่ 1        ถูกต้องเนื่องจากวัตถุทั้งสองมีมวลเท่ากัน และอยู่ที่ผิวโลกเหมือนกันน้ำหนักของวัตถุจึงมี ค่า  (w = mg = (10)(9.8) = 98 N) เท่ากัน

ตัวเลือกที่ 2        ไม่ถูกต้องวัตถุ B เคลื่อนที่ด้วยความเร่งจากสนามโน้มถ่วงโลก (a = g = 9.8 m/s2)

                                ในทิศลงสู่ผิวโลกแต่วัตถุ A หยุดบนพื้นความเร่งที่เกิดกับวัตถุ A มีค่าเป็นศูนย์

ตัวเลือกที่ 3        ถูกต้องแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุ A คือ น้ำหนัก (w = mg = (10) (9.8) = 98 N)

ตัวเลือกที่ 4        ถูกต้องแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุ B คือ น้ำหนัก (w = mg = (10) (9.8) = 98 N)          

  1. จากแผนภาพแสดงลักษณะของเส้นสนามแม่เหล็กที่เกิดจากแท่งแม่เหล็กสองแท่ง

       ข้อใดบอกถึงขั้วแม่เหล็กที่ตำแหน่ง A, B, C และ D ได้ถูกต้อง

  1. A และ C เป็นขั้วเหนือ B และ D เป็นขั้วใต้
  2. A และ D เป็นขั้วเหนือ B และ C  เป็นขั้วใต้
  3. B และ C เป็นขั้วเหนือ A และ D เป็นขั้วใต้
  4. B และ D เป็นขั้วเหนือ A และ C เป็นขั้วใต้

เฉลยข้อ 3

แนวคิด             เส้นสนามแม่เหล็ก (magnetic field lines) เป็นเส้นแสดงถึงอิทธิพลทางแม่เหล็กของ

แม่เหล็ก สังเกตได้จากแนวการวางตัวของผงตะไบเหล็กรอบ ๆ แท่งแม่เหล็กส่วนทิศทางของเส้นสนามแม่เหล็กหาได้จากการวางตัวของเข็มทิศ ซึ่งชี้ออกจากขั้วแม่เหล็กเหนือและพุ่งเข้าหาขั้วแม่เหล็กใต้ ดังรูป

เมื่อพิจารณาขั้วแม่เหล็กทีละขั้วพบว่า

 ขั้วแม่เหล็ก A   เป็นขั้วแม่เหล็กใต้เพราะเส้นสนามแม่เหล็กมีทิศพุ่งเข้าหาขั้วแม่เหล็ก

ขั้วแม่เหล็ก B    เป็นขั้วแม่เหล็กเหนือเพราะเส้นสนามแม่เหล็กมีทิศพุ่งออกจากขั้วแม่เหล็ก

ขั้วแม่เหล็ก C    เป็นขั้วแม่เหล็กเหนือ เพราะเส้นสนามแม่เหล็กมีทิศพุ่งออกจากขั้วแม่เหล็ก

ขั้วแม่เหล็ก D    เป็นขั้วแม่เหล็กใต้เพราะเส้นสนามแม่เหล็กมีทิศพุ่งเข้าหาขั้วแม่เหล็ก

  1. บริเวณพื้นที่สี่เหลี่ยม ABCD เป็นบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอซึ่งมีทิศพุ่งออกตั้งฉากกับกระดาษ

     ดังรูป

       ข้อใดต่อไปนี้จะทำให้อนุภาคโปรตอนเคลื่อนที่เบนเข้าหาด้าน AB ได้

  1. ยิงอนุภาคโปรตอนเข้าไปในบริเวณ จากทางด้าน AD ในทิศตั้งฉากกับเส้น AD
  2. ยิงอนุภาคโปรตอนเข้าไปในบริเวณ จากทางด้าน BC ในทิศตั้งฉากกับเส้น BC
  3. ยิงอนุภาคโปรตอนเข้าไปในบริเวณ จากทางด้าน AD ในแนวขนานกับเส้น AC
  4. ยิงอนุภาคโปรตอนเข้าไปในบริเวณ จากทางด้าน DC ในแนวขนานกับเส้น DB

เฉลยข้อ 2

แนวคิด             เมื่อประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณสนามแม่เหล็ก จะเกิดแรงกระทำต่อประจุไฟฟ้าซึ่ง

                        สามารถหาแรงกระทำดังกล่าวได้จากสมการ   

                ทิศทางของแรง สามารถหาได้จากกฎมือขวา ดังแสดงในรูปด้านล่าง

            โจทย์ระบุให้อนุภาคโปรตอนเคลื่อนที่เข้าไปในบริเวณพื้นที่สี่เหลี่ยม ABCD ซึ่งมีสนามแม่เหล็ก

            พุ่งออกจากกระดาษ (แสดงด้วย l) จะเกิดแรงกระทำต่อโปรตอนทำให้ทิศทางการเคลื่อนที่ของ

            โปรตอนเปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางของแรง (ซึ่งสามารถหาได้จากกฏมือขวา)

          

 

  1. วางอนุภาคอิเล็กตรอนลงในบริเวณซึ่งมีเฉพาะสนามไฟฟ้าที่มีทิศไปทางขวาดังรูป

       อนุภาคอิเล็กตรอนจะมีการเคลื่อนที่เป็นไปตามข้อใด

  1. เคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง เบนขึ้นข้างบน
  2. เคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง เบนลงข้างล่าง
  3. เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงขนานกับสนามไฟฟ้า ไปทางขวา
  4. เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงขนานกับสนามไฟฟ้า ไปทางซ้าย

เฉลยข้อ 4

 

ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว



 แบบที่ 1 แบบปริ้นอ่านได้เลย ราคาเพียง 399 บาท
แบบที่ 2 แบบหนังสือ+MP3 ราคา 699 บาท
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<

>>
(Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
<< 
       

 

ถาม ตอบ

  1. 1. จากรูปที่กำหนดให้อุณหภูมิที่อ่านได้โดยตรงและค่าที่ต้องประมาณคือเท่าใด

ตอบ 43.20oC

เหตุผล       เนื่องจากระดับปรอทอยู่ตรงระดับที่เลย 430Cไปประมาณ 0.20C และค่าที่ต้องประมาณคือ

ทศนิยมตำแหน่งที่ 2 ซึ่งตามตัวเลือกกำหนดให้เป็น 0.080C แสดงว่าค่าที่ต้องประมาณคือ 0.080C ส่วนค่าที่อ่านได้โดยตรงคือ 43.200C

 

  1. 2. การวัดความหนาของแผ่นกระดาษ 1 แผ่น เราจะใช้เครื่องมือวัดใดจึงจะเหมาะสม

ตอบ      เวอร์เนียร์

เหตุผล       เครื่องมือวัดมีผลกระทบบ้างในแง่ขีดจากัดการใช้งานของเครื่องมือ ซึ่งเครื่องมือที่สร้างขึ้นจะมีความคลาดเคลื่อนในตัวของมันเองอยู่แล้ว

วิธีการวัด มีผลกระทบเล็กน้อย

     ผู้ทำการวัด มีผลกระทบเล็กน้อย ถ้าเข้าใจวิธีการวัดและการใช้เครื่องมืออย่างดี

     สภาพแวดล้อมขณะทำการวัด มีผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะถ้าต้องการทราบความเข้มแสงที่ระยะห่างจากหลอดไฟ 1m ควรต้องทำในห้องมืดไม่มีแสงแสงจากที่อื่นเข้าไปรบกวนแสงจากหลอดไฟเลย

 

  1. 3. ขวดใบหนึ่งมีปริมาตร 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร บรรจุเม็ดถั่วไว้เต็ม ถ้าเม็ดถั่วแต่ละเม็ดถือว่าเป็น

     ทรงกระบอกเล็ก ๆ ยาว 2 เซนติเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1.5 เซนติเมตร ในขวดใบนี้จะมีเม็ดถั่ว

     ประมาณกี่เม็ด

ตอบ  280 เม็ด

  1. จากการวัดน้ำหนักของนักเรียนในห้องแยกเป็นนักเรียนชายและหญิง การนำเสนอข้อมูลโดยนำ

      น้ำหนักกับจำนวนนักเรียนและเพศมาแสดงโดยใช้แผนภูมิทางสถิติ แผนภูมิแบบใดเหมาะสมที่สุด

      สำหรับกรณีนี้

ตอบ               แผนภูมิแท่ง

เหตุผล          แผนภูมิแท่ง จะเป็นแผนภูมิที่เหมาะสมมากสำหรับกรณีนี้ เพราะดูจากแผนภูมิแท่งที่จำลองขึ้นจะเห็นว่าในช่วงน้ำหนักต่างๆ จะเห็นความแตกต่างของจำนวนนักเรียนหญิงและนักเรียนชายได้ชัดเจนมาก

 

  1. มีส้มเขียวหวาน 100 ลูกชั่งน้ำหนักของส้มเขียวหวานแต่ละลูก แล้วบันทึกลงในตารางบันทึกข้อมูลได้

      ดังนี้

      ถ้านำข้อมูลจากตารางบันทึกข้อมูลนี้มาแสดงโดยใช้แผนภูมิทางสถิติ แผนภูมิใดเหมาะสมที่สุดอื่น

ตอบ               แผนภูมิวงกลม

เหตุผล

พิจารณาจากแผนภูมิทางสถิติทั้ง 3 แบบของจำนานส้มเขียวหวานในช่วงน้ำหนักต่างๆได้ชัดเจนกว่าแผนภูมิลักษณะอื่น

 

  1. วิชาฟิสิกส์สามารถแยกออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

ตอบ     ฟิสิกส์แยกการศึกษาออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  1. ฟิสิกส์ยุคเก่า (Classical Physics) เป็นการศึกษาเพื่อค้นคว้าหาหลักเกณฑ์และขบวนการต่างๆที่จะนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่สังเกตเห็นได้ด้วยตา หมายความว่าเป็นการศึกษาระบบที่เกี่ยวกับมวลที่มีขนาดใหญ่ ๆ เช่น การเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ
  2. ฟิสิกส์ยุคใหม่ (Modern Physics) เป็นการศึกษาสิ่งที่เร้นลับที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เช่น โครงสร้างอะตอม พลังงานที่ได้จากการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี ฯลฯ

 

  1. เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์มีความจำเป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ     1. เครื่องมือวัดช่วยทำให้เราสามารถวัดปริมาณต่าง ๆ ที่ต้องการได้สะดวกรวดเร็วและปลอดภัย

  1. เครื่องมือวัดทำให้เราสามารถวัดปริมาณต่าง ๆที่ประสาทการรับรู้ของมนุษย์ไม่สามารถตรวจ สอบได้โดยตรง
  2. งานต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือฟิสิกส์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยเครื่องมือเข้าช่วย

            *** เครื่องวัด ช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลใหม่ ๆ ที่ต้องการ ***

 

 กฎ ก.ตร.

ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2553

  1. กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2553 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดกี่วัน

ก. 30 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

            ข. 45 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

            ค. 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

            ง. 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ตอบ  ค.   60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  1. ในการแต่ตั้งข้าราชการตำรวจตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

            ก. ควรคำนึง พฤติกรรม การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคล

            ข. พิจารณาจากความรู้ความสามารถ

            ค. ต้องผ่านอบรมตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ

            ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ก. ควรคำนึง พฤติกรรม การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของบุคคล

  1. หน่วยงานใดทำหน้าที่เป็นศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมและพัฒนาคุณภาพของข้าราชการตำรวจ

            ก. กองบัญชาการศึกษา                                       ข. สถาบันฝึกอบรม

            ค. จเรตำรวจแห่งชาติ                                          ง. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตอบ   ก. กองบัญชาการศึกษา

  1. กองบัญชาการศึกษามีหน้าที่อะไร
  • กำหนดชี้วัดและหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อประกาศเชิดชูเกียรติหน่วยงานข้าราชการตำรวจที่ประพฤติดีเยี่ยม
  • รณรงค์ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กำหนดกำหนดหลักสูตรพัฒนาและฝึกอบรมข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
  • สร้างเครื่องข่ายทั้งภายในและภายนอกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อส่งเสริมจริยธรรมและจรรยาบรรณของข้าราชการตำรวจ

            ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง.ถูกทุกข้อ

  1. การประกาศเชิดชูเกียรติข้าราชการตำรวจที่ประพฤติปฏิบัติดีเยี่ยมตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานใด

            ก. จเรตำรวจแห่งชาติ                                          ข. ก.ตร.

            ค. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                              ง. ผู้อำนวยการกองบัญชาการศึกษา

ตอบ   ข. ก.ตร.

  1. การประกาศเชิดชูเกียรติหน่วยงานและข้าราชการตำรวจในระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ประพฤติปฏิบัติดีเยี่ยมตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจต้องกระทำเมื่อใด

            ก. ทุกๆ 3 เดือน                                      ข. ทุกๆ  6 เดือน

            ค. ทุกๆ 1 ปี                                           ง. ทุกๆ  2 ปี

ตอบ  ค. ทุกๆ 1 ปี

  1. หน่วยงานใดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติทีต้องนำประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจไปกำหนดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน

            ก.  จเรตำรวจแห่งชาติ                                         ข. กองบัญชาการศึกษา

            ค. สถานบันการฝึกอบรม                                      ง. ทุกหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตอบ   ค. สถานบันการฝึกอบรม   

  1. หน่วยงานใดมีอำนาจและหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ

            ก.  จเรตำรวจแห่งชาติ                                         ข. กองบัญชาการศึกษา

            ค. สถานบันการฝึกอบรม                                      ง. ทุกหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตอบ   ก. จเรตำรวจแห่งชาติ

  1. หน่วยงานใดมีหน้าที่สอดส่องดูแลการรักษาประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ

            ก.  จเรตำรวจแห่งชาติ                                         ข. กองบัญชาการศึกษา

            ค. สถานบันการฝึกอบรม                                      ง. ทุกหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตอบ   ก.จเรตำรวจแห่งชาติ

  1. ข้อใดคืออำนาจและหน้าที่ของจเรตำรวจแห่งชาติ

            ก. ให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ

            ข. จัดทำคู่มือและคำอธิบายแนวทางปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม

            ค. สอดส่องดูแลการักษาประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ

            ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ

 

แนวข้อสอบ

กฎ .ตร. ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.. 2556

**********************

  1. กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2556 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
  • 3 มิถุนายน 2556                 ค. 5 มิถุนายน 2556
  • 4 มิถุนายน 2556                 ง. 6 มิถุนายน 2556

ตอบ   ค. 5 มิถุนายน 2556

  1. กฎ ก.ตร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันใด
  • วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 30 วัน
  • หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 90 วัน
  • หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 180 วัน

ตอบ   ก. วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  1. กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2556 มีกี่หมวด
  • 6 หมวด  1  บาเฉพาะกาล                             ค. 9  หมวด  1  บาเฉพาะกาล
  • 8 หมวด  1  บาเฉพาะกาล                             ง. 7  หมวด  1  บาเฉพาะกาล

ตอบ   ค. 9  หมวด  1  บาเฉพาะกาล

หมวด ๑ บททั่วไป

หมวด ๒ การแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สืบสวน

หมวด ๓ หน้าที่คณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สืบสวน

หมวด ๔ วิธีการสืบสวน

หมวด ๕ การทำรายงานสืบสวน

หมวด ๖ สิทธิและหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา

หมวด ๗ การพิจารณาสั่งสำนวนการสืบสวน

หมวด ๘ การสืบสวนที่มิชอบและบกพร่อง

หมวด ๙ การนับระยะเวลา

 

 

 

 

  1. กรณีที่ควรทำการสืบสวนข้อเท็จจริง
  • ผู้บังคับบัญชามีเหตุอันควรสงสัยว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัย
  • ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่นแจ้งมาให้ทราบว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยหรือสงสัยว่ากระทำผิดวินัย
  • มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยผู้ร้องเรียนนั้นได้แจ้งชื่อและที่อยู่ของตนเองเป็นที่แน่นอน
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ ๕ ภายใต้บังคับข้อ ๓ กรณีที่ควรทำการสืบสวนข้อเท็จจริง ได้แก่

(๑) ผู้บังคับบัญชามีเหตุอันควรสงสัยว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัย

(๒) มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยผู้ร้องเรียนนั้นได้แจ้งชื่อและที่อยู่ของตนเองเป็นที่แน่นอน พร้อมทั้งระบุพฤติการณ์แห่งกรณีที่กล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัยนั้น

(๓) ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่นแจ้งมาให้ทราบว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยหรือสงสัยว่ากระทำผิดวินัย

(๔) มีบัตรสนเท่ห์กล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัย ตามปกติการร้องเรียนกล่าวหาข้าราชการตำรวจว่ากระทำผิดวินัยในลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์ห้ามมิให้รับฟัง เว้นแต่บัตรสนเท่ห์นั้นระบุข้อเท็จจริง พยานหลักฐานกรณีแวดล้อม และหรือระบุพยานบุคคล พยานวัตถุ หรือพยานเอกสารชี้แนะแนวทางเพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนได้

(๕) กรณีปรากฏเป็นข่าวในสื่อสารมวลชนใด ๆ ว่าข้าราชการตำรวจในบังคับบัญชาผู้ใดกระทำผิดวินัยตามปกติหากไม่มีชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องเรียนกล่าวหาห้ามมิให้รับฟัง เว้นแต่ข่าวในสื่อมวลชนนั้นระบุข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน กรณีแวดล้อม และหรือระบุพยานบุคคล พยานวัตถุ หรือพยานเอกสารชี้แนะแนวทางเพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนได้

(๖) กรณีอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชาเห็นควรให้มีการสืบสวนข้อเท็จจริง

  1. ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สั่งให้สืบสวนจะต้องไม่เป็นบุคคลใด
  • มีส่วนได้เสียในเรื่องที่สืบสวน
  • รู้เห็นเหตุการณ์ในเรื่องที่สืบสวน
  • มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกสืบสวน
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ ๙ ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สั่งให้สืบสวนยกเว้นนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สืบสวน จะต้องไม่เป็นบุคคลดังต่อไปนี้

(๑) รู้เห็นเหตุการณ์ในเรื่องที่สืบสวน

(๒) มีส่วนได้เสียในเรื่องที่สืบสวน

(๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกสืบสวน

(๔) เป็นผู้ร้องเรียนกล่าวหาหรือเป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดาหรือมารดากับผู้ร้องเรียนกล่าวหา

(๕) มีเหตุอย่างอื่นซึ่งน่าเชื่ออย่างยิ่งว่าจะทำให้การสืบสวนเสียความเป็นธรรม

  1. ในกรณีแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวน ให้มีคณะกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการประจำอย่างน้อยกี่คน
  • 5 คน                                                                     ค. 6  คน
  • 3 คน                                                                     ง. 4  คน

ตอบ   ข.

ในกรณีแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวน ให้มีคณะกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการประจำอย่างน้อยสามคนประกอบด้วยข้าราชการตำรวจอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง โดยให้มีเลขานุการหนึ่งคน เลขานุการอาจจะแต่งตั้งจากกรรมการสืบสวนคนใดคนหนึ่งก็ได้ ในกรณีจำเป็นจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการก็ได้

  1. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่คณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สืบสวน
  • สืบสวนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎ ก.ตร. นี้ เพื่อแสวงหาความจริงในเรื่องที่กล่าวหาและดูแลให้บังเกิดความยุติธรรมตลอดการสืบสวน
  • จัดทำบันทึกการปฏิบัติงานที่มีการสืบสวนไว้ทุกครั้ง
  • รวบรวมประวัติของผู้ถูกกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาเท่าที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณา
  • เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สืบสวนทุกข้อ

ตอบ   ง. เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สืบสวนทุกข้อ

ข้อ ๑๔ คณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สืบสวนมีหน้าที่

(๑) สืบสวนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎ ก.ตร. นี้ เพื่อแสวงหาความจริงในเรื่องที่กล่าวหาและดูแลให้บังเกิดความยุติธรรมตลอดการสืบสวน

(๒) รวบรวมประวัติของผู้ถูกกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาเท่าที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณา

(๓) จัดทำบันทึกการปฏิบัติงานที่มีการสืบสวนไว้ทุกครั้ง

(๔) ห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าร่วมทำการสืบสวน

 

  1. การสืบสวนข้อเท็จจริงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุดแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินกี่วัน
  • 30 วัน                                                                   ค. 60  วัน
  • 45 วัน                                                                   ง. 90  วัน

ตอบ   ค. 60  วัน

ข้อ ๑๗ การสืบสวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สืบสวนต้องดำ เนินการตามกำหนดเวลาดังนี้

(๑) สืบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุดแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการหรือผู้สืบสวนได้รับทราบคำสั่ง หากครบกำหนดหกสิบวันแล้วยังไม่แล้วเสร็จให้ขออนุมัติขยายระยะเวลาต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สั่งให้สืบสวน ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สั่งให้สืบสวนพิจารณาอนุมัติได้ตามความจำเป็น แต่ทั้งนี้ห้ามมิให้ขยายระยะเวลาสืบสวนต่อไปอีกเกินหกสิบวัน  หากมีการขยายระยะเวลาแล้วการสืบสวนไม่แล้วเสร็จภายในหกสิบวันให้ประธานกรรมการหรือผู้สืบสวนรายงานเหตุให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สั่งให้สืบสวนทราบและให้เป็นหน้าที่ของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนหรือผู้สั่งให้สืบสวนติดตามเร่งรัดการสืบสวนต่อไป

  1. การนำเอกสารหรือวัตถุมาใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสืบสวนต้องบันทึกสิ่งใดบ้าง
  • บันทึกว่าได้มาอย่างไร ค. บันทึกว่าได้มาเมื่อใด
  • บันทึกว่าได้มาจากผู้ใด ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ ๑๘ การนำเอกสารหรือวัตถุมาใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสืบสวนให้บันทึกไว้ด้วยว่าได้มาอย่างไร จากผู้ใด และเมื่อใด

  1. การสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยานของคณะกรรมการสืบสวนต้องมีกรรมการสืบสวนไม่น้อยกว่ากี่คนจึงจะสืบสวนได้
  • 1 คน                                                                     ค. 3  คน
  • 2 คน                                                                     ง. 4  คน

ตอบ   ข. คน        

ข้อ ๒๐ การสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยานของคณะกรรมการสืบสวนต้องมีกรรมการ

สืบสวนไม่น้อยกว่าสองคนจึงจะสืบสวนได้

Untitled Document

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่นๆ